ประวัติความเป็นมาของปลาแฟนซีคาร์ฟ

ปลาแฟนซีคาร์พ (Fanct Carp) เป็นชื่อทีใช้เรียกปลาในสกุล (GENUS) เดียวกันกับปลาใน (crucian Carp) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า cyprinus carpio linn

——————————————————————————–

เป็นปลาน้ำจืดที่มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ในบริเวณประเทศอิหร่านในปัจจุบัน เป็นปลาที่สามารถปรับตัวดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำ จืดที่มีอุณหภูมิที่แตกต่างกันได้มาก แม้ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นถึงขนาดมีหิมะปกคลุมหรือสภาพอากาศร้อนปลาชนิดนี้ก็าสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศได้ จึงแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้ทั่วโลก

ในยุคต้นๆชาวจีนนับเป็นชนชาติแรกที่รู้จักปลาไนซึ่งเป็นต้นตระักูลของปลาแฟนซีคาร์ฟมาเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีล่วงมาแล้ว โดยชาวจีนเรียกปลาไนว่า หลีจื้อ หรือ หลีโกวง ปลาไนน่าจะมีอิทธิพลต่อชาวจีนเป็นอันมาก ซึ่งจะพบหลักฐานอันเก่าแก่ที่สุดของปลาไนปรากฏในภาพเขียนของจีนสมัยราชวงศ์์โจว

เดิมทีปลาไนตามแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีเพียงสีดำ สีเทาดำ หรือสีน้ำตาลดำเท่านั้นเมื่อราวปี พ.ศ. 808 -859 ปรากฏว่ามีปลาไนบางตัวกลายพันธุ์เป็นสีส้ม ชาวจีนจึงนิยมนำมาเลี้ยงเพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อชมความสวยงามจนเป็นที่แพร่หลายต่อมาราวศตวรรษที่ 18 ที่เมืองโอจิยา(Ojiya) ซึ่งอยู่ในจังหวัดนิกาตะ(Neigate) ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นในเมืองนี้ได้นำปลาไนมาเลี้ยงไว้ในบ้านเพื่อประกอบเป็นอาหาร เนื่องจากชาวญุ่ปุ่นกลุ่มหนึ่ง ที่มีอาชีพทำนาตามภูเขาสูงในชนบท ซึ่งมีการคมนาคมที่ไม่สะดวกในยามที่มีหิมะตกชาวญี่ปุ่นไม่สามารถเดินทางออกนอกบ้านไปทำมาหากินได้ หลังจากที่มีการเพาะขยายพันธุ์มาหลายชั่วอายุุปลาจึงทำให้เกิดการผ่าเหล่า(Mutation)กลายพันธุ์เป็นปลาไนสีแดง ทำให้ชาวญี่ปุ่นในเมืองนี้สนใจปลาชนิดนี้มากขึ้น การเพาะขยาย
พันธุ์ปลาชนิดนี้ค่อยๆขยายตัวแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นในปี ค.ศ. 1870

สายพันธุ์ โคฮากุ (Kohaku)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์ไทโชซันโชกุ (Taisho Sanshoku / Taisho Sanke)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์โชวา ซันโชกุ /ซันเก้ (Showa Sanshoku / Showa Sanke)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์เบคโกะ (Bekko)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์อุจึริโมโนะ (Utsurimono)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์อาซากิ (Asagi)

สายพันุ์ปลาคาร์พ พันธุ์ซูซุย (Shusui)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์โกโระโมะ (Koromo)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์โงชิกิ (Goshiki)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ สายพันธุ์ฮิการิ มูจิโมโนะ (Hikari muji mono)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์ฮิการิโมโยโมโนะ (Hikari moyomono)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์ฮิการิ อุจึริโมโนะ (Hikari Utsurimono)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์ตันโจ (Tancho)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์คาวาริโมโนะ (Kawarimono)

สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์คินกินริน (Kinginri)

โรคปลาคาร์พที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

ความเจ็บป่วยที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาจมีสาเหตุมาจากคุณภาพน้ำไม่ดี สารอาหารไม่เพียงพอ ดูแลไม่ดี หรือไม่ก็การควบคุมทางพันธุกรรมไม่ดี สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถถ่ายโอนไปสู่ตัวอื่นได้
เช่น

——————————————————————————–

ท้องผูกหรืออาหารไม่ย่อย
ปลา Koi ทีท้องผูกหรือทุกข์ทรมานจากอาหารไม่ย่อยมักจะไม่คล่องแคล่ว นอนอยู่ที่ก้นบ่อ และท้องบวม สาเหตุมาจากการให้อาหารไม่สมดุล อาหารไม่ถูกกับปลา หรือให้อาหารมากเกิน ต้องเปลี่ยนอาหารใหม่ จะเติมเกลือแมกนีเซียมซัลเฟต 1 ช้อนชาต่อน้ำ 5 แกลลอน ในถังพยาบาล ควรลดอาหารปลา 3-5 วันจนกว่ามันจะแข็งแรง ให้อาหารสดหรืออาหารแช่แข็งตลอด 1 สัปดาห์
หลังจากนั้นเอาปลากลับลงบ่อ ควรสังเกตดูปลาให้ดี เพราะอาการเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นอีก

โรคถุงลม
สังเกตจากการที่ปลาว่ายน้ำได้ไม่เต็มที่ โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ง่าย จากการเสียสมดุลในการว่ายไปข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจหงายท้องเลย โรคนี้เกิดจากท้องผูก การฟกซ้ำในระหว่างสัมผัส การต่อสู้ การผสมพันธุ์หรือจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีสาเหตุมาจากคุณภาพน้ำไม่ดี สิ่งเหล่านี้แก้โดยการรักษาบริเวณทีฟกซ้ำ แต่ปัญหาคือไม่สามารถตรวจดูแผลทั้งหมดได้ ถ้าสงสัยว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ก็ควรปรับปรุงคุณภาพของน้ำ และรักษาปลาด้วยยาปฏิชีวนะ ถ้าเกิดจากการท้องผูก ควรเปลี่ยนอาหารปลาและสังเกตดูความเปลี่ยนแปลง

เนื้องอก
ก้อนบวม นูน หรือเนื้องอก ดูเหมือนเม็ดพุพอง หรือหูดสามารถเอาเนื้องอกบางจุดออกได้ เนื้องอกบนเซลล์ผิวที่ถูกย้อมสีเป็นอันตรายถึงตาย และสังเกตได้จากก้อนที่หลัง เนื้องอกที่ตับก็ถูกพบในปลา Koi และก่อให้เกิดอาการท้องบวม พอง เนื้องอกทั้งสองชนิดไม่สามารถรักษาได้

ตาโปน
โรคนี้ทำให้ปลาตาโปนจากเบ้าตา และอาการนี้สังเกตได้ง่าย ปลาที่เป็นโรคมักอยู่ในน้ำที่คุณภาพไม่ดีและมีแรงกดดัน การรักษาอาจต้องใช้เวลาหลายวันถ้าจะพัฒนาคุณภาพของน้ำ บางคนบอกว่าควรงดให้อาหารปลา 2-3 วัน จนกว่าบ่อจะได้รับการแก้ไข

โรคปลาคาร์พที่เกิดจากการติดเชื้อ

โรคติดเชื้อการจะเป็นโรคติดเชื้อได้ก็ต่อเมื่อมันมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ปรสิต รา
ไวรัส และโปรโตซัว และเมื่อมันสามารถแพร่เชื้อไปให้ปลาตัว

——————————————————————————–

การติดเชื้อแบคทีเรีย

โรคบวมน้ำหรือโรคไต
รู้จักกันในชื่อ “pinecone” สังเกตได้จากท้องบวมและเกล็ดหลุด โรคนี้เป็นสาเหตุให้ตัวบวม เพื่อที่จะสร้างของเหลวในเนื้อเยื่อ โรคบวมน้ำ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonasc และ Pseudomonas สาเหตุมาจากคุณภาพน้ำไม่ดี หรือไม่ก็ความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำ ถ้าโรคบวมน้ำเจริญเต็มที่ ปลา Koiจะอยู่ไม่เกิน 1 สัปดาห์ โรคนี้เหมือนกับโรคท้องผูกและโรคถุงลมปลา ปลาที่รอดชีวิตจากโรคถุงลม มีแนวโน้มว่าจะเป็นอีกครั้ง เพราะว่าโรคนี้ติดต่อได้ง่าย
ทางที่ดีควรย้ายปลาที่เป็นโรคออกไปโรคนี้รักษาไม่หาย ควรย้ายปลาออกมาทันทีและฆ่าทิ้งโดยไม่ให้ทรมาน บางคนคิดจะรักษาให้หายด้วยยาปฏิชีวนะ บางคนแนะว่าให้ผสม Furanance
250 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1แกลลอน อาบให้ปลา ควรอาบภายใน 1 ชั่วโมง และไม่ควรอาบซ้ำเกิน 3 ครั้ง ภายใน 3 วัน ว่ากันว่าปลารับเอาสารนี้ทางผิว ถ้าไม่เลือกใช้วิธีนี้อาจใช้วิธีอาบน้ำเกลือแบบเก่า ถ้าปลาไม่ตอบสนองต่อการรักษาภายใน 2-3 วัน ปลาควรถูกฆ่าทิ้ง

แผลเปื่อย (Furunculos หรือ Ulcer Disease)
การติดเชื้อของแบคทีเรียชนิดนี้จะไม่ค่อยแสดงอาการ แต่จะแพร่เชื้อไปอย่างรวดเร็ว จะติดเชื้อที่เกล็ดที่ดูเหมือนยเงี่ยง การติดเชื้อนี้แสดงอาการที่รอยกระแทกใต้เกล็ด ต่อมารอยกระแทกจะเริ่มปริออก ทำให้เกิดแผลเปื่อยขณะที่ปลาบางตัวรอดชีวิตจากโรคนี้ รอยแผลเป็นที่เกิดจากการติดเชื้อมักจะสร้างปัญหาสำหรับมันอีก บางทีปลาที่เป็นโรคนี้ควรจะถูกฆ่าทิ้งปลาที่ยังเหลืออยู่ให้รัีกษาด้วยเตตร้าชัยคลินทันที ควรกำจัดอาหารที่เหลือ การรักษาควรใช้เวลา 10 วัน

Ulcers (Hole-in-the Body Disease)
คือโรคติืดเชื้อที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดภายใน และแสดงอาการคือแผลเปื่อยสีแดงขนาดใหญ่ ฝี และสีแดงคล้ำที่ฐานของครีบ เราจะไม่สับสน โรคนี้กับโรคหนอนสมอ เพราะว่าอาการของหนอนสมอจะบวม ในขณะที่โรคนี้จะถูกกินจากภายในการอาบน้ำเกลืออาจจะรุนแรงเกินไป แต่ปลาที่ติดเชื้อควรจะแยกไว้ต่างหากและให้ยารักษาอีกครั้ง ที่ต้องใช้ยา่ปฎิชีวนะ

Mouth Fungus (Columnaris Disease)
มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Flexibacter และแสดงอาการโดยมีตุ่มขาวๆ โตบริเวณรอบปาก นอกจากนั้นยังพบได้ที่เหงือก หลัง และ ครีบ ถ้าปล่อยปละละเลยโดยไม่รักษา โรคนี้จะลุกลามไปทั่วและปลาก็จะตายควรพาไปพบสัตวแพทย์ แต่ควรแยกปลาและรักษาด้วยน้ำเกลือก่อน บางคน
เริ่มการรักษาด้วย่น้ำเกลือ และต่อด้วยการควบคุมแบคทีเรียที่สำคัญ

โรคครีบติดเชื้อแบคทีเรียหรือหางเน่า
การต่อสู้กันระหว่างปลา อาจก่อให้เกิดความเสียหายที่ครีบหรือหาง บริืเวณที่เจ็บง่ายต่อการติดเชื้อของแบคทีเรีย และโรคนี้อาจเกิดจากคุณภาพน้ำไม่ดี มันง่ายที่จะป้องกันขณะที่ครีบมีบางส่วนหลุดไปและกลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เมื่อโรคแสดงอาการรุนแรง ครีบจะค่อยๆ กร่อนไปมียาปฎิชีวนะที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ควรแช่ปลาลงในอ่างที่ผสมเกลือโปแตสเซียม 8 ผลึกต่อน้ำ 3 ส่วน 4 แกลลอนทิ้งไว้ 5 นาที หลังจากนั้นเอาบริเวณที่ิดเชื้อของหางและครีบออก และทาหาง
ด้วย methylene blue หรือยาแดง การรักษานี้ค่อนข้างรุนแรงและควรกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญ

โรคเหงือกติดเชื้อแบคทีเรีย
สาเหตุมาจากแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ โรคนี้เกี่ยวกับการอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก และคุณภาพของน้ำไม่ดี น้ำอุณหภูมิสูงก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้ อาการของโรคคือ ความเสียหายของเส้นใยที่เหงือก เยื่อบุเมือกที่ผิว และนิสัยการหายใจที่ผิวน้ำ อาจแก้ไขได้โดยลดจำนวนประชากรปลาในบ่อและัพัฒนาคุณภาพน้ำ การรักษาแบบแอนตี้แบคทีเรียอาจมีประโยชน์แต่ทางที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคขี้นได้

วัณโรคปลา
สาเหตุมาจากแบคทีเรีย Mycobacteria และเป็นสาเหตุให้เกิดบาดแผลที่เรีกยว่า granuloma ที่อวัยวะภายใน เพราะว่าเนื้องอกอยู่ภายในและไม่แสดงอาการ โรคนี้ ตาจะบวมแดงและช่องท้องก็จะบวม พอง การวินิจฉัยสามารถรับรองก็ต่อเมื่อตรวจภายในหลังปลาตาย ไม่มีการรักษาสำหรับโรคนี้

การติดเชื้อรา (Fungus)
สาเหตุจากเชื้อราในสกุล Saprolegnia ที่มักเป็นอันตรายต่อปลาเขตร้อนเชื้อรานี้จะแสดงอาการไม่ชัดเจน แต่มันจะขาวและง่ายต่อการสังเกตกว่าโรค velvet สาเหตุเบื้องต้นของโรคนี้เกิดจากความเสียหายของเยื่อบุเมือกบนผิวที่เชื้อรามาเกาะและเจริญเติบโต ความบาดเจ็บสภาพแวดล้อม และปรสิตก็สามารถทำลายการป้องกันของเยื่อบุผิวได้การรักษาการทา methylene blue ในบริเวณที่ติดเชื้อ หลังจากนั้นปลาจะถูกนำไปแช่น้ำเกลือ 10 วัน และอาจต้องไปพบสัตวแพทย์

Body Slim Fungus
โรคนี้สามารถฆ่าปลาได้ภายใน 2 วัน ถ้าไม่รักษาให้ทันเวลาเยื่อบุเมือกที่หุ้มจะเป็นสีขาวและเริ่มหลุดออก เหมือนกับว่าปลากำลังลอกคราบ ครีบจะค่อยๆถูกปกคลุม ท้ายสุดตัวก็ลายแดงด้วยอาการระคายเคียงการอาบน้ำเกลืออุ่นๆ จะเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว เพราะจะช่วยลดการเจริญ
เติบโตของเชื้อรา การไปพบสัตวแพทยเป็นวิธีที่แนะนำใหปฎิบัติ

Branchiomycosis
การติดเชื้อชนิดนี้ส่งผลกระทบต่อเหงือก ทำให้เกิดการกดระบบหายใจและเลือดออกที่เหงือก บริเวณของเนื้อเยื่อเหงือกที่ตายบ่งชี้ให้เห็นถึงโรคนี้ และที่โชคร้ายคือ ยังไม่มีการรักษาสำหรับโรคนี้ และปลาที่เป็นโรคก็จะตายภายในเวลาไม่กี่วันควรแยกปลาไว้ต่างหาก ถ้า่สงสัยว่าติดเชื้อ branchiomycosis

การติดเชื้อไวรัส

ไวรัสปลาคาร์พ
เชื้อไวรัส KHV (Koi Herpes Virus) เชื้อไวรัสชนิดนี้ จะทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ของปลา จึงทำให้เกิดการติดเชื้อจาก แบคทีเรียได้ง่าย มีตุ่มพุพองเกิดขึ้นที่ตัวปลา โรคนี้ได้ระบาด ครั้งใหญ่ในจังหวัด อิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น การทำให้ปลาคาร์พ ในประเทศญี่ปุ่นตายไปถึง 1,124 ตัน ธุรกิจเลี้ยงปลาคาร์พเสียหายคิดเป็นเงินสูงถึง 280 ล้านเยน เมื่อปี 2546
โรคร้ายสายพันธุ์นี้ เป็นหนึ่งในโรคที่ OIE องค์การระบาดสัตว์ ระหว่างประเทศ สั่งให้ประเทศ สมาชิกควบคุม อย่างเข้มงวด กรมประมงไทย ออกประกาศ สั่งห้ามนำปลาคาร์พจาก ญี่ปุ่นเข้าประเทศไทย เมื่อกลางเดือน พฤศจิกายน 2546 และต่อมาได้มีการยกเลิก คำสั่งห้ามนำเข้าปลาคาร์พ จากญี่ปุ่น ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 เพราะสถานการณ์ดีขึ้น และมีการเฝ้าระวัง แต่การระบาดของโรค KHV ที่เกิดขึ้น เมื่อเดือนที่แล้วและเป็นข่าวที่พบจากฟาร์มปลา ในบ้านเรา อาจมาจากการลักลอบ นำเข้าปลาคาร์พสวยงาม จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำเข้ามาประกวด ปลาสายงาม และเชื้อได้แพร่สู่ปลาตัวอื่นๆ ที่เข้าร่วมประกวด ความน่ากลัว ก็ตรงที่มันไม่แสดงอาการ นี่แหลมันจะกลาย เป็นตัวพาหะแพร่ไปสู่ปลาตัวอื่น และรอโอกาสจน เมื่ออุณหภูมิน้ำลดต่ำลง สภาพน้ำผิดปกติ เชื้อจึงกลับมาสร้างปัญหาอีกครั้ง โรคนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะกับปลาแฟนซีคาร์พอย่างเดียว ปลาในตระกูล ปลาคาร์พ ปลาไน, ปลาจีน, ปลาตะเพียน, ปลากระโห้, ปลาซ้ง, ปลายี่สก, ปลาหางไหม้, ปลากา ฯลฯ เป็นได้ทั้งนั้น ถ้าเป็นปลาในตระกูล ปลาคาร์พ สามารถป่วยเป็นโรค KHV ได้ทั้งสิ้น

อาการโดยทั่วๆไป
1.เหงือกจะถูกทำลาย ปลาจะขึ้นมาลอยหัวฮุบอากาศ ที่ผิวหน้าน้ำตลอดเวลา
2.ตัวจะเห็นเป็นผื่นแดง เนื่องจากไวรัสได้เข้าไปทำลาย อวัยวะภายใน จนเกิดการตกเลือด
3.จะสังเกตุเห็นก้อนเลือด รวมตัวกันเป็นจ้ำๆ สีแดงคล้ำ จนออกเขียวบริเวณผิวหนังปลา
4.หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วม จะเกิดแผลหลุมตามลำตัว และเห็นเป็นขุยสีขาวติดอยู่เป็นจุดๆ
5.ถ้าอากาศเย็น ปลาจะตายภายใน 2-3 วัน อัตราการตาย30-80%

วิธีการการป้องกัน
1. งดการนำปลาใหม่เข้าบ่อ ในช่วงที่มีการระบาด
2. รักษาอุณหภูมิน้ำ ให้สูงเกิน 28 องศาเซลเซียสไว้ตลอดเวลา
3. รักษาความแข็งแรง ของร่างกายปลา เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันในปลา โดยการให้ วิตามิน C เสริมในอาหาร
4. ล้างบ่อกรอง อย่างสม่ำเสมอ เดือนละครั้ง เพื่อป้องกันการสะสม ของสารอินทรีย ์ในบ่อจนเป็นสาเหตุ ของการเพิ่มจำนวน ของแบคทีเรีย
5. หากได้มีการ นำปลาใหม่เข้าบ่อในช่วงนี้ให้ใส่ ฟอร์มาลิน 30-40 cc/น้ำ 1 ตัน แช่ทิ้งไว้ตลอด จะสลายตัว ไปเองภายใน 1-2 วัน เพื่อฆ่าเชื้อที่มีอยู่ในน้ำ
6. หากมีการ ทิ้งน้ำจากบ่อเลี้ยง จะต้องนำน้ำนั้นไปพักไว้และใส่ คลอรีนผง 50 กรัม/น้ำ 1 ตัน ทิ้งไว้ 1-2 วันจึงปล่อยทิ้ง เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสแพร่ออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

และเพื่อความไม่ประมาท แต่ไม่ต้องถึงขั้นตื่นตระหนกตกใจจนเกินไป ผู้เลี้ยงปลาคาร์พทั้งหลาย ควรหมั่นใส่ใจ เรื่องความสะอาด ของการเลี้ยงปลา อย่าเคลื่อนย้ายปลานอกพื้นที่เลี้ยง เมื่อพบปลาป่วยเป็นโรคนี้ ปลาตายก็ให้เผาและฝังดิน อย่านำไปทิ้งในแหล่งน้ำสาธารณะ และอย่าทิ้งสะเปะสะปะให้หมาแมวไปกิน อุปกรณ์เลี้ยงปลาคาร์พไม่ว่าจะเป็นสวิง ตาข่าย ควรหมั่นทำความสะอาดฆ่าเชื้อ น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาคาร์พ ก่อนจะปล่อยทิ้งก็ควรฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกัน ไม่ให้เชื้อโรคแพร่ กระจายเป็นวงกว้าง

Carp Pox โรคพุพอง โรคซิฟิลิส
โรคพุพองมักจะเป็นกับปลา koi และปลาในตระกูลใกล้เคียงการติดเชื้อไวรัสนี้ทำให้เกิดเมือกลื่นสีขาวขุ่นและสีชมพูเทา เคลือบบนผิวและครีบปลา ลัีกษณะอาการของโรคนี้ก็คือ มันเกิดขึ้นมาและดูเหมือนจะรุนแรง แต่ต่อมามันก็จะหายไปเอง ควรแยกปลาที่ติดเชื้อออกจนกว่าเมือกนั้นจะหายไป อาจจะกินเวลาประมาณ7-10วัน น้ำที่มีอุณหภูมิสูงจะช่วยให้อาการของโรคหายไป เพราะว่าโรคนี้ไม่ได้คร่าชีวิตปลา

Sping Viremia of Carp
มีลักษณะอาการคือ ตาพอง ผิวและเหงือกเป็นแผล ว่ายน้ำไม่ได้ แลหะท้องบวมโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อ Rhabdovirus carpio โรคนี้มีสาเหตุมาจากน้ำอุณหภูมิสูง และมักเกิดกับลูกปลา โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง การกลับมาเป็นไม่มีวิธีการรักษานอกจากปลาที่ติดเชื้อก็ควรย้ายออกจากบ่อ

Lymphocystic
เป็นโรคไวรัสธรรมดาที่สามารถจะวินิจฉัยได้จากการเกิดก้อนเนื้อแข็งขึ้นตามตัวโรคนี้ไม่มีอันตรายถึงตาย แต่ไม่มีทางรักษา มันสามารถกลับมาแสดงอาการอีกและติดต่อได้ง่าย จึงควรต้องย้ายปลาที่ติดเชื้อออกจากบ่ออย่างถาวร

โรคติดเชื้อจากพยาธิ

เห็บปลา
เกิดจากเห็บปลา fish louse หรือ Argulus sp. จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรโปด้าฃั้นครัสเตเซียน เห็บปลามีขนาดประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มองเห็นด้วยตาเปล่าตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ลำตัวมีสีเขียวปนเหลือง หรือน้ำตาล ตัวกลมแบนด้านหลังโค้งมน ลำตัวเป็นปล้องเชื่อมติดกัน ส่วนของปากเจริญมากและเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะสำหรับดูดเกาะมีตารวม 2 ตา ระหว่างตารวมมีตาเดี่ยว 1 ตาระหว่างตาทั้ง 3 มีงวงขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็นอวัยวะสำหรับเกาะตัวปลามีปาก
อยู่หลังงวง ท่อทางเดินอาหารสั้น แต่มีสาขาแยกออกไปมาก มีขา 6 คู่คู่ที่ 1-4 เห็นได้ชัด ขาคู่ที่ 5 และ 6 หายไป ส่วนหางยื่นออกไปเป็น 2 แฉก อวัยวะสืบพันธุ์อยู่บริเวณหาง ตัวผู้มีอัณฑะใหญ่ 2 อัน ตัวเมียมีอวัยวะสำหรับรับน้ำเชื้อ1 คู่ รังไข่อยู่บริเวณกลางลำตัว ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะอยู่ในท่อนำไข่บริเวณกลางลำตัว เห็บปลาวางไข่บนก้อนหินเรือวัตถุแข็งๆในน้ำ ไข่ฟักออกเป็น
ตัวภายใน 9-15 วันตัวอ่อนว่ายน้ำเป็นอิสระอยู่ประมาณ 20-24 ชั่วโมง แล้วจะเข้าเกาะปลา ถ้าไม่สามารถเข้าเกาะปลาได้ภายใน 24 ชั่วโมงจะตาย เมื่อเข้าเกาะปลาแล้ว 3-5 วัน จะลอกคราบครั้งแรก ลอกคราบทั้งหมดประมาณ 6ครั้งจึงกลายเป็นตัวเต็มวัย ตัวเมียเมื่อวางไข่แล้วจะตายส่วนใหญ่เกาะอยู่ตามผิวลำตัวเหงือกหัวและครีบของปลา กินเซลผิวหนังเป็นอาหารสามารถย้าตำแหน่งการเกาะได้ ทำให้ผิวหนังของปลาเป็นแผล มักพบเกิดกับปลาทีมีเกล็ดเช่น ปลาช่อน แรด นิล ไนตะเพียน เป็นต้น ในปลาที่มีการติดโรคนี้เป็นเวลานาน ปลาจะว่ายน้ำอย่างกระวนกระวาย โดยถูกับวัสดุหรือผนังตู้บริเวณที่ถูกเห็บปลาเกาะจะเกิดแผล ทำให้ตกเลือดบริเวณผิวหนังทั่วไปเห็บปลาที่พบในประเทศไทยได้แก่ Argulusfoliacieus A. indicus A.siamensis

การป้องกันและรักษา
1. แช่ปลาที่มีพยาธินี้ในสารละลายยาฆ่าแมลงจำพวกดิพเทอเร็กซ์ ในอัตราส่วน0.5-0.75 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง
2. แช่ปลาในสารละลายด่างทับทิม (โปแตสเซียมเปอแมงกาเนต) ในอัตราส่วน1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร นานประมาณ 15-30 นาที แล้วจึงจะย้ายปลาไปใส่ในน้ำสะอาด
3.กำจัดเห็บปลาออกโดยการจับออกด้วยปากคีบ หากพยาธิชนิดนี้เกาะแน่นเกินไปให้หยดน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ 1-2 หยด ลงบนตัวพยาธิแล้วจึงใช้ปากคีบดึงออก พยาธิจะหลุดออกโดยง่าย
4. การกำจัดเห็บปลาที่เกิดขึ้นในบ่อ ทำได้โดยการตากบ่อให้แห้งแล้วโรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ
5.ควรพักปลาที่ขนส่งมาใหม่ในน้ำสะอาด แยกบริเวณจากปลาที่เลี้ยงอยู่เดิม เพื่อ
ให้แน่ใจว่าไม่มีเห็บปลาติดมาด้วย

หนอนสมอ
มักเกาะติดที่ผิวหนังปลา มีหลายๆ สายพันธุ์ของพยาธิชนิดนี้ตัวเมียจะมีหัวคล้ายสมอฝังอยู่ในตัวของโฮสท์ ปลามักจะถูตัวเพื่อครูดเอาพยาธิออก หนอนชนิดนี้คล้ายกับเห็บปลาที่จะก่อให้เกิดการระคายเคืองและเลือดไหลตรงที่พวกมันเกาะและส่วนที่ยื่นออกมาคือ หนอนสีขาว

การรักษาหนอนสมอ
การแยกปลาออกจากบ่อ และการใช้คีมคีบหนีบออก ต้องทำตามคำแนะนำที่มาพร้อมยาที่คุณซื้ออย่างเคร่งครัด

วิธีที่จะเอาหนอนออก
โดยวางผ้าเปียกในมือของคุณ จับปลาในมือที่ถือผ้าควรแน่ใจว่าวางตำแหน่งถูกต้องแล้ว โดยให้หนอนตรงกับตัวคุณ ใช้คีมคีบหนีบไปให้ใกล้กับแผลเท่าที่จะทำได้ แต่ให้โดนเฉพาะที่ตัวหนอน ดูให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้หนีบเนื้อส่วนใดของปลา และต้องระวังไม่ให้ตัวหนอนขาด วิธีนี้ค่อนข้าง
อันตรายและต้องใช้ความระวังอย่างที่สุด ใช้ยาปฏิชีวนะก็ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและควรปรึกษาพ่อค้าปลาในการรักษาด้วยวิธีนี้

ปลิง
ปลิงเป็นปรสิตที่มักพบที่ผิวหรือเกล็ดปลา ไม่มีปลิงที่เราจะเห็นมันอยู่โดดๆที่ทะเลสาบหรือบ่อน้ำ พวกมันเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนอนพยาธิที่เกาะกินเลือดกินเนื้อ ต้องเอามันออกจากตัวปลาให้เร็วที่สุด แต่ไม่ให้ใช้คีมคีบหนีบ เพราะปลิงพวกนี้แข็งแรงและอาจสร้างแผลให้แก่ปลา

การแช่น้ำเกลือด้วยส่วนผสมเกลือ 8 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แกลลอน การแช่น้ำเกลือดูเหมือนว่าเพียงพอแล้ว นำปลาใส่ไม่เกิน 10 นาที สามารถใช้คีมคีบหนีบปลิงออกได้อย่างง่ายดาย ปลิงและไข่ของมันอาจติดมากับบ่อได้จากพืชต้นใหม่ จึงควรแยกพืชไว้ในถังกักก่อนที่จะนำมาลงบ่อ

Flukes-skin and gill (Dactylogyrus)
ปลา Koi ที่อ่อนแอจะตกเป็นเหยื่อของ flukes ก่อนที่จะติดเชื้อใดๆ gill flukesคือพยาธิตัวแบนที่ง่ายต่อการป้องกัน สาเหตุให้เหงือกบวมและแดง และเป็นสาเหตุให้ปลาขึ้นมารับอากาศที่ผิวน้ำ บางครั้งของเหลวคล้ายหนองจะไหลออกมาจากเหงือก fluke เป็นปรสิตที่เล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น อาศัยอยู่ในเหงือก เช่นสีจางถูตัว และหายใจหอบ skin fluke (Gyrodactylus) เป็น
สาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการบวมเฉพาะที่ เมือกออกมากเกินและเป็นแผล

การรักษา
ควรจะอาบยาฆ่าเชื้อ เอาปลาใส่ลงในน้ำ 1 แกลลอน เติมยาฆ่าเชื้อลงไป 15 หยดทุกๆนาที จนครบ 10 นาที หลังจากนั้น ย้ายปลาไปไว้ที่ถังพยาบาลทำตามวิธีข้างต้นไปอีก 3 วัน ต้องไม่ใส่เยอะเกิน ยาฆ่าเชื้อจะฆ่าปลาได้

โรคอิ๊คหรือโรคจุดขาว
จะมีจุดขาว เม็ดเล็กๆ ปรากฏขึ้นตามตัว เป็นปรสิต lchthyophthirius เป็นชนิดธรรมดาที่เราเห็นทั่วไป แต่ไม่ควรให้มีจุดขาว เกิดกับปลาแม้แต่น้อยเพราะมันสามารถฆ่าปลาได้ถ้ามีเวลาพอ
การรักษายารักษาโรคนี้มีขายตามท้องตลาด ผลการรักษาไม่เป็นที่น่าพอใจควรลองโดยการแช่น้ำเกลือในถังกัก 10 วัน จำเป็นที่ต้องฆ่าเชื้อนี้ก่อนที่มันจะมีโอกาสแพร่ไปทั่วประชากรปลาอื่นๆ

Velvet
ปรสิตนี้คือ Oodinium เป็นสาเหตุให้เกิดปุยนิ่มสีทองปกคลุมที่ตัวและครีบปลาในปลา koi สีส้ม บางครั้ง เราอาจตรวจไม่พบโรคนี้ในครั้งแรกที่ดู การไปพบสัตวแพทย์เป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับโรคนี้ บางคนใช้ malachite greenหรือวิธีการเช่นน้ำเกลือแบบเก่า 10 วัน

Hole-in-the-Head Disease
โรคนี้มีสาเหตุมาจากปรสิต Hexamita เป็นปรสิตที่อยู่ภายในปลา koi ที่ไม่แข็งแรง ที่มีสาเหตุมาจากความกดดัน อายุ หรือคุณภาพน้ำไม่ดี มีโอกาสติดโรคนี้ได้ง่าย อาการคือ อุจจาระเป็นสีขาว เหนียว รูขุมขนที่เกี่ยวกับความรู้สึกเป็นหนองและมีขนาดใหญ่ขึ้น อาการอื่นรวมไปถึงการถูกทำลายของผิวและกล้ามเนื้อ ซึ่งค่อยๆขยายไปถึงกระดูกและกะโหลกศรีษะย้ายปลาไว้ในถังกัก เปลี่ยนน่ำเป็นประจำก็เพียงพอที่จะช่วยรักษษปลา เพิ่มสารอาหารด้วยวิตามินซี ก็จะช่วยให้ปลามีอาการดีขึ้นด้วยยา metronidazole 50 มิลลิกรัมต่อน้ำทุกๆแกลลอน ใช้อาบก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ควรใช้วิธีนี้ซ้ำในอีก 3 วันต่อมา

การสืบพันธุ์และการผสมพันธุ์ปลาคาร์พ

การสืบพันธุ์ของปลา Koi
อวัยวะสืบพันธุ์ของปลา Koi อยู่ในร่างกาย มันจึงยากที่จะบ่งเพศของปลาจนกว่า
มันจะโตเ๖้มที่ ขณะที่ลำตัวยางประมาณ 12 นิ้ว และมีอายุ 3 ปี เป็นช่วงที่ปลา
โตเต็มที่ ตัวผู้จะมีร่างเพรียวกว่าตัวเมีย ครีบอกก็จะตั้งและยื่นออกจากลำตัวมาก
กว่าตัวเมีย ในฤดูผสมพันธุ์ ครีบของตัวผู้จะตั้งและหัวก็จะมีแต้ม ส่วนตัวเมีย
ที่โตเต็มที่ ลำตัวจะหนาและกลมกว่า และจำกลมยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อมีไข่ในตัวในช่วง
ฤดูผสมพันธุ์

——————————————————————————–

ปลา Koi เป็นปลาวางไข่ ตัวเมียจะวางไข่ที่พืชและเสปิร์มก็จะมาผสมพันธุ์กัน
ข้างนอก ไข่ของปลา Koi เล็กกว่าหัวเข็มหมุด ใส เหนียวติดพืช ตัวเมียจะวาง
ไข่ประมาณ 400,000 ฟอง ในช่วงผสมพันธุ์

ปลา Koi มักจะวางไข่ในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ในอุณหภูมิพอเหมาะ
แต่มันจะเริ่มวางไข่ตลอดทั้งปีในบริเวณเขตร้อนของอินโด-มาเลเซียและไทย
ปลาจะวางไข่ในน้ำอุณหภูมิต่ำที่ประมาณ 63 องศาฟาร์เรนไฮด์ แต่อุณหภูมิที่ดี
ควรจะอยู่ที่ประมาณ 68 องศาฟาร์เรนไฮด์ การผสมพันธุ์จะเริ่มจากการเปลี่ยน
แปลงของอุณหภูมิน้ำในแต่ละฤดูการขึ้นของพืชใต้น้ำ น้ำที่มีออกซิเจนเยอะ
และการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนของทั้งตัวผู้และตัวเมีย ตัวผู้จะไล่ตามจนกว่า
ตัวเมียจะวางไข่บนใบพืชที่อยู่ในน้ำตื้น หลังจากนั้น ตัวผู้จะผสมพันธุ์ โดยปล่อย
สเปริ์มเข้าไปในไข่ตัวเมียจะวางไข่ในช่วงเช้าและไข่จะฟักภายใน 1 สัปดาห์ ที่
อุณหภูมิ 65-75 องศาฟาร์เนรไฮด์ เปอร์เซ็นต์ที่ลูกปลาจะมีชีวิตรอดมีจำนวน
ไม่มาก เมื่อตัวผู้พบตัวเมีย ตัวผู้มักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับตัวเมีย ตัวผู้จะไล่ตาม
ิอย่างดุเดือดจนกว่าตัวเมียจะวางไข่ หลังจากนั้นตัวผู้จะผสมพันธุ์โดยปล่อย
สเปริ์มเข้าไปในไข่

การผสมพันธู์ปลาในบ่อ
ถ้าบ่อและปลามีสุขภาพดี ปลาจะเริ่มผสมพันธุ์เมื่ออุณหภูมิน้ำเหมาะสม ในช่วง
เปลี่ยนฤดู ซึ่งมักจะเป็นเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ถ้าเลี้ยงปลา Koi แค่เป็น
งานอดิเรก ขึ้นอยู่กับคุณว่าจะใช้บ่อเป็นที่วางไข่และที่ฟักตัวของลูกปลา หรือว่า
จะหาสถานที่ที่สามารถจะควบคุมดูแลมากกว่านั้น เช่น ถังเพาะพันธุ์ ถ้าปล่อย
ให้ปลาผสมกันเองตามธรรมชาติในบ่อ จะไม่สามารถควบคุมสายพันธุ์ ถ้าไม่แบ่ง
พื้นที่ในบ่อสำหรับการผสมพันธุ์ เพราะไม่มีทางรู้ว่าลูกปลาตัวไหนเป็นของพ่อ-แม่
ปลาคู่ไหน ถ้าในบ่อมีปลา koi หลายชนิด ไข่ที่วางไว้อาจจะโดนปลาตัวอื่นมาก

บ่อผสมพันธุ์
ปลา Koi จะวางไข่ได้อย่างเป็นธรรมชาติในบ่อ แต่ผู้เลี้ยงควรจะเตรียมบ่อ
ผสมพันธุ์ไว้ด้วย ถังที่ได้จัดเตรียมไว้แล้วอย่างดี ควรปล่อยให้พ่อ-แม่ และลูกปลาอยู่ตามลำพัง เพื่อที่จะสามารถควบคุมดูแลได้อย่างใกล้ชิด และยังสามารถเพิ่มการรอดชีวิตของลูกปลาด้วย
บ่อเพาะปลา Koi ควรจะมีขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศุนย์กลางอย่างต่ำ 6-8 ฟุต
และลึก 3-4 ฟุต ควรจะแข็งแรง และมีพื้นผิวบ่อเรียบ เพราะปลามักถูตัวกับ
ผนังบ่อ ต้องแน่ใจว่ามีการให้ออกซิเจนในบ่ออย่างเพียงพอและอาจต้องเพิ่ม
อุปกรณ์ในการเพาะพันธุ์ ให้ตัวเมียใช้วางไข่ วัสดุเหนียวนุ่มมัดผ้า ผักตบชวา หรือกิ่งต้นหลิว เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสม หรืออาจจะซื้ออุปกรณ์ผสมพันธุ์จำลอง
ก็ได้ ต้องแน่ใจว่าสิ่งที่ซื้อมาปราศจากปรสิตและสารเคมี

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาคาร์พ

การคัดเลือกพันธุ์พันธุ์ปลาคาร์พนั้นจำเป็นต้องมีความพิถีพิถันในการคัดเลือกเพราะมีความสำคัญที่ลูกปลาที่ออกมาจะมีคุณภาพและขายได่ราคาหรือไม่

——————————————————————————–

การเลือกพ่อ-แม่พันธุ์
เมื่อจะเพาะพัันธุ์ปลา ก็คงต้องการให้ปลาที่เกิดมามีสีสดใสสุขภาพดีและรอด
ต้องเริ่มด้วยการเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม โดยดูจากปลาที่มีสุขภาพ
แข็งแรง คล่องแคล่วว่องไว สีสวยและครีบมีลักษณะดี ผู้เชี่ยวชาญบางคน
แนะนำว่าต้องไม่นำปลาkoi ชนิดหลักๆมารวมกันและควรจะเลือกปลาที่มี
สีพื้นสีขาว สีสด และลำตัวตรง คนเลี้ยงปลาที่มีชื่อเสียงบางคน จับคู่ปลาตัวผู้
และตัวเมียอย่างละตัวมาผสมพันธุ์กัน แต่มันยากที่จะเลือกปลาที่มีคุณสมบัติดี
พร้อม สำหรับที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ดังนั้นควรเลือกตัวผู้ 3 ตัว และตัวเมีย 1 ตัว ถ้าการจับคู่แรกล้มเหลว ลองเปลี่ยนคู่ผสมพันธุ์ด้วยตัวผู้อีกตัวเมื่อได้เวลาแล้ว นำปลาที่เลือกไปไว้ในบ่อผสมพันธุ์ อุณหภูมิน้ำในบ่อควรจะอยู่ที่ประมาณ 75 องศาฟาเรนไฮด์ ในตอนกลางวัน และอุณหภูมิควรจะลดลงในตอนกลางคืน การเปลี่ยนแปลงนี้เองที่กระตุ้นให้เกิดการผสมพันธุ์

ถ้าจับตาดูปลาให้ดี เราจะเห็นมันเกี้ยวกัน ตัวผู้เริ่มที่จะรังแกตัวเมียเพื่อให้ตัวเมียวางไข่ การเกี้ยวจะเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้เวลาที่ตัวเมียจะวางไข่ ไข่จะถูกวางในอุปกรณ์เพาะพันธุ์ ที่ซึ่งกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ในบ่อการผสมพันธุ์และการวางไข่มักเกิดในช่วงเช้า

การย้ายพ่อ-แม่พันธุ์
พ่อ-แม่ปลาอาจจะกินไข่ของตัวเองได้ ดังนั้นจึงต้องย้ายออกจากบ่อ อาจจะย้าย
ไปอีกบ่อที่มีคุณภาพน้ำดีและอุณหภูมิใกล้เคียงกัน หรือ จะย้ายกลับไปที่บ่อก็ได้
ไข่และลูกปลาอาจจะตายเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นไม่ต้องเป็นกังวลที่จะปกป้องไข่ทุกฟอง

การดูแลรักษาไข่
ไข่ต้องอยู่ในอุณหภูมิที่คงที่เปลี่ยนแปลงได้ไม่เกิน 5 องศาฟาเรนไฮด์ทั้งกลางวันและกลางคืน ไข่จะตายถ้าอุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงมากในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไข่จะเริ่มฟักภายใน 4-7 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิน้ำ ซึ่งควรอยู่ที่ประมาณ 68-75 องศาฟาเรนไฮด์ มันไม่แปลกที่เชื้อราจะ
มารบกวนไข่ ดังนั้นอาจต้องเพิ่มสารต้า่นเชื้อราในน้ำ เช่น malachite greenและควรมีความเข้มข้นประมาณ 0.2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร

หลังจากฟักไข่ ลูกปลาจะหาที่ปลอดภัยโดยสัญชาตญาณ และจะหลบซ่่อนตัวอยู่ในอุปกรณ์เพาะพันธุ์ ลูกปลาสามารถอยู่รอดได้ 2-3 วัน จากอาหารที่ถุงไข่แดง (yolk sacs) หลังจากใช้หมดแล้วก็จะต้องให้อาหารมัน ลูกปลาต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง และระยะตัวอ่อนในช่วง 2-3 วันแรกต้องทำทุกทางที่จะเพิ่มออกซิเจนจำนวนมากให้แก่ลูกปลาในช่วงนี้ และต้องแน่ใจว่ามีการให้ออกซิเจนในน้ำ ควรจะรู้ว่า ต้องให้อาหารลูกปลาได้เมื่อพวกมันเริ่มที่จะว่ายน้ำไปมาในความลึกระดับกลางของน้ำ

การให้อาหารลูกปลาและการคัดลูกปลาออก

การที่ลูกปลาจะสมบูรณ์นั้นขึ้นอยู่กับการดูแลเอาใจใส่ของตัวผู้เลี้ยงเป็นสำคัญไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกินของลูกปลาและสถานที่เลี้ยงนั้นคับแคบหรือแออัดหรือไม่

——————————————————————————–

การให้อาหารลูกปลา
อาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกปลาคือ สัตว์น้ำที่เล็กมาก เช่น ไรข้ำเค็ม (อาร์ทีเมีย)ที่เพิ่มฟักตัว ลูกปลายังสามารถกินอาหารแห้งที่เป็นชิ้นเล็กๆ ได้ เช่น นมผงไข่แดงต้มสุก และสาหร่าย พวกมันจะกินได้เรื่อยๆ ดังนั้นจะเป็นที่จะต้องให้อาหารมันตลอดทั้งวัน เมื่อมันโตขึ้นควรเพิ่มขนาดของอาหาร โดยดูจากขนาดของปลาตัวที่เล็กที่สุดในบ่อ 3-4 สัปดาห์ ปลาจะยาวประมาณ 0.2-0.4 นิ้ว
ถ้าลูกปลาฟักตัวในถังที่มีขนาดเล็ก ลูกปลาจะฟักตัวจากถุงไข่ที่ติดตัว (yolk sacs) และถุงนี้จะเป็นอาหารในช่วง2-3 วันแรกของการฟักตัว หลังจากนั้นจะต้องให้อาหารลูกปลาด้วยอาหารแห้ง
ขนาดเล็กจำนวนเล็กน้อย ลูกปลาต้องการอาหารบ่อย ถ้าคิดที่จะเป็นคนให้อาหารลูกปลาเอง คุณต้องเตรียมตัวอยู่บ้านกับลูกปลาต้องดูแลเอาเศษอาหารและขยะอื่นๆ ออกจากบ่อเพาะพันธุ์อยู่เรื่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำสกปรก ซึ่งทำได้โดยการถ่ายน้ำโดยใช้ท่อดูดได้นานเท่าที่คุณหลีก
เลี่ยงการที่จะย้ายลูกปลาออก การที่จะควบคุมการเพิ่มของแอมโมเนียมและเกลือ ต้องเติมน้ำจืดเป็นบางส่วนลงบ่อ อย่าลังเลที่จะใช้อุปกรณ์ทดสอบค่าpH และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำในบ่อฟักตัว

การคัดลูกปลาออก
ลูกปลาจะโตอย่างรวดเร็วและจำได้ลูกปลาหลายพันตัวจากการผสมพันธุ์ครั้งหนึ่ง ในเดือนแรกควรเริ่มคัดลูกปลาออก ซึ่งจะช่วยลดจำนวนปลาที่จะนำมาจัดลำดับ ทำให้สามารถเลือกปลาที่มีคุณภาพดีที่สุด คนเลี้ยงปลามืออาชีพมักจะคัดปลาออกประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ขั้นแรกต้องเอาปลาที่พิการหรืออ่อนแอออกจากกลุ่ม หลังจากนั้นก็คัดออกโดยเลือกจากสีและลวดลาย
เหลือไว้เฉพาะตัวอย่างที่ดี3-4 เดือนแรกของการเพิ่มขึ้นของปลา ต้องเข้มงวดเรื่องการให้อาหารและการคัดปลาออก จนกว่าจะได้ตัวที่มีคุณภาพสูงและยาวหลายนิ้ว หลักการคัดปลาออกขึ้นอยู่กับความคิดส่วนตัวเกี่ยวกับ สี รูปร่างและขนาดของปลาต้องเพิ่มขนาดของบ่อที่ใช้เลี้ยงปลาในขณะที่พวกมันค่อยๆโตขึ้น สามารถนำปลาที่ยังไม่โตเต็มที่ที่ยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ไปไว้ในบ่อได้ แต่เรื่องการคัดปลาเป็นเรื่องยากสักหน่อย

ขณะที่ปลา koi เริ่มโตขึ้นพวกมันต้องการอาหารน้อยลง เมื่ออายุ 1 เดือน ปลาkoi ต้องการอาหารคิเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว และควรจะให้ทีละน้อยแต่ค่อนข้างบ่อย เมื่อมันโตขึ้นอีก ลดอาหารให้เลหือ 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ต้งอเลือกอาหารให้มีขนาดเหมาะสมกับตัวที่เล็กที่สุดในบ่อ จะสังเกตเห็นไดว่าปลา Koi ที่โตเร็วที่สุดมักจะไม่สวยและหน้าตาจะคล้าย
กับปลาคาร์พทั่วไป มันเป็นอย่างนี้เพราะว่าปลา Koi จะสวยกว่าตั้งแต่เกิดและปลา Koi ก็ไม่มีความทนทานเท่าปลาคาร์พในธรรมชาติ

สอนการเลี้ยง สายพันธุ์ และการเลือกซื้อ ปลาคาร์พ Breeding Strains and buying carp

บ่อปลา

ปลาคาร์พใหญ่ที่สุดในโลก