Posts Tagged ‘Fancy Carp’

ปลาคาร์ฟ(Fancy Carp) หรือภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า”Koi”

87021 koi-koi

ปลาคาร์ฟ(Fancy Carp) หรือภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า“Koi”

….ปลาเงินล้าน ที่มีคนนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบันชนิดหนึ่ง คือ ปลาคาร์ฟ หรืออีกชื่อว่า แฟนซีคาร์ฟ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมันเลี้ยงง่าย โตไว อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก  เช่น  ปลาคาร์ฟ ชื่อ “ฮานาโกะ” ของนายแพทย์ผู้หนึ่ง ที่ เมืองกูฟี ประเทศญี่ปุ่น มีอายุยืนถึง 266 ปี

ประวัติความเป็นมา

ปลาแฟนซีคาร์ฟ  เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลาในสกุล (Genus)  เดียวกับ ปลาไน (Crucian Carp) ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cyprinus Carpio line เป็นปลาน้ำจืดที่มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ในบริเวณประเทศอิหร่าน  ในปัจจุบันเป็นเวลาที่สามารถปรับตัวดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำจืด ที่มีอุณภูมิที่แตกต่างกันได้ดีมาก แม้ในสภาพอากาศร้อน   ปลาชนิดนี้ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศได้ จึงแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้ทั่วโลก

ในยุคต้นๆชาวจีนนับเป็นชนชาติแรกที่รู้จักปลาไนซึ่งเป็นต้นตระ กูลของปลาแฟนซีคาร์ฟมาเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีล่วงมาแล้ว โดยชาวจีนเรียกปลาไนว่า หลีจื้อ หรือ หลีโกวง   ปลาไนน่าจะมีอิทธิพลต่อชาวจีนเป็นอันมาก ซึ่งจะพบหลักฐานอันเก่าแก่ที่สุดของปลาไนปรากฏในภาพเขียนของจีนสมัยราชวงศ์โจว

เดิมทีปลาไนตามแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีเพียง สีดำ สีเทาดำ หรือสีน้ำตาลดำเท่านั้น    เมื่อราวปี พ.ศ. 808 -859 ปรากฏว่ามีปลาไนบางตัวกลายพันธุ์เป็นสีส้ม ชาวจีนจึงนิยมนำมาเลี้ยงเพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อชมความสวยงามจนเป็นที่แพร่หลายต่อมาราวศตวรรษที่ 18 ที่ เมืองโอจิยา(Ojiya) ซึ่งอยู่ในจังหวัดนิกาตะ(Neigate)  ประเทศญี่ปุ่น    ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นในเมืองนี้ได้นำปลาไนมาเลี้ยงไว้ในบ้านเพื่อประกอบเป็นอาหาร เนื่องจากชาวญุ่ปุ่นกลุ่มหนึ่ง ที่มีอาชีพทำนาตามภูเขาสูงในชนบท ซึ่งมีการคมนาคมที่ไม่สะดวกในยามที่มีหิมะตกชาวญี่ปุ่นไม่สามารถเดินทางออกนอกบ้านไปทำมาหากินได้

ประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนาสายพันธุ์ดั้งเดิมของปลาไน ให้เป็นปลาสวยงาม มีสีสันและรูปร่างที่สวยงามขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน โดยเรียกว่า ปลาคาร์ฟ หรือ แฟนซีคาร์ฟ  ( ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า  Koi  โค่ย,  錦鯉  ซึ่งมีความหมายเดียวกับคำว่า  รัก )  เป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ซันโกกุโคฮากุตันโจ เป็นต้น โดยมีการประกวดและทำฟาร์มเพาะเลี้ยงจนกลายเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เช่น  เทศกาลเด็กผู้ชายที่เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปีที่บ้านที่มีเด็กผู้ชายจะประดับด้วยธงรูปปลาคาร์ฟที่หน้าบ้าน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแรง เป็นต้น  และเป็นที่รับรู้ในระดับสากลว่า ปลาคาร์ฟเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้ที่เลี้ยงปลาคาร์ฟ มักนิยมเลี้ยงรวมเป็นฝูงขนาดใหญ่ในบ่อเลี้ยงขนาดใหญ่ที่มีระบบน้ำวน มีการจัดการน้ำที่ดี ในสวนแบบญี่ปุ่น

ประเภทของปลาคาร์ฟ

…..ปลาคาร์ฟ ทางสมาพันธ์ ผู้เลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟแห่งญี่ปุ่น ได้แบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้

1. โคฮากุ (Kohagu) -> มีสีแดงขาวสลับกัน นับเป็นพันธุ์มารตฐานที่นิยมเลี้ยงกันมาก 2. ไทโช-ซันเก้ (Tancho–Sunke) -> มีสีขาวแดง และดำสลับกัน แต่ที่หัวจะมีสีแดงเป็นหลักมีสีดำมาสลับ
3. โชวา-ซันโซกุ (Showa Susoku)-> มีสีแดง ขาว และดำ โดยมีสีแดงขาวเป็นหลัก และมีสีดำมาสลับลำตัวถึงใต้ท้อง 4. อุตซูริโมนะ (Utsurimono)-> มีสีดำเป็นลายแถบคล้ายตาข่ายสลับด้วยสีขาว
5. เบกโกะ (BenKo)-> มีลายเหมือนกระดองเต่า มีสีดำเป็นตาสลับเหมือนตาข่ายตลอดทั้งลำตัว เกล็ดสีขาว 6. อาซากิ ( Asagi ) นางฟ้าหุ้มตาข่าย -> พันธุ์นี้ผสมของเยอรมัน มีสีน้ำเงินอ่อนสลับเทา มีลายเหมือนตาข่ายคลุมอยู่ทั้งตัว
7. โคโรโม(Koromo) -> พันธุ์นี้ผสมระหว่างโคฮากุกับอาซากิ ลำตัวจึงมีเกล็ดสีน้ำเงินเหลือบผสมตลอดทั้งตัว 8. คาวาริโมโนะ (Kawarimono)-> พันธุ์นี้มีสีสันประหลาดกว่าปลาพันธุ์อื่น เข้าใจว่าเกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์เบกโกะกับคินกินริน
9. ซูซุย (Shusui) -> เป็นปลาด๊อยส์ที่มีเกล็ดเฉพาะที่สันหลังกับที่ข้างลำตัวเล็กน้อย แต่ขนาดใหญ่มาก เด่นชัด ยาวตั้งแต่ หัว ถึงหาง    ผิวข้างลำตัวเรียบ 10. โอกอน (Ogon) -> พันธุ์เหลืองทองมีเกล็ดสีขาวเงางาม และมีสีทองผสมกับสีเหลืองอร่ามทั้งตัว
11.ฮิการิ-อุตซูริโมนะ(Hikarimujimono)> ลำตัวสีเหลืองอ่อน มีสีแดงเป็นหลักสลับดำตลอดทั้งตัว

12.ฮิการิโมโย-โมนะ(Hikarimoyomono)> ลำตัวสีเหลืองอ่อน มีสีแดงเป็นหลักสลับกันตลอดทั้งตัว
13.คินกินริน (Kinginrin)-> เกร็ดสีทองและเงินสลับกันทั้งตัว กลางลำตัวและส่วนท้ายมีสีแดงมาปะปนบ้าง

14.ตันโจ (Tancho)-> ลำตัวขาวบริสุทธิ์ ที่หัวมีจุดสีแดงเข้ม พันธุ์นี้ดูสวยงามอละเด่นกว่าพันธุ์อื่นมาก
วิธีเลี้ยงปลาคาร์ฟ ->

ควรเริ่มต้นด้วยการขุดบ่อขนาด 80 x 120 ลึก 50 เซนติเมตร มีสะดือที่ก้นบ่อขนาด 1 x 2 ฟุต ลึกประมาณ 4-6นิ้ว เพื่อไว้เป็นที่เก็บขี้ปลาและสิ่งสกปรก และติดตั้งระบบถ่ายเทน้ำเสียเพื่อช่วยให้น้ำในบ่อสะอาดอยู่ตลอดเวลาด้วย

บ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์ฟ ->

ควรเป็นบ่อซีเมนต์เพราะสามารถดัดแปลงเป็นบ่อธรรมชาติได้ง่าย มีตะใคร่น้ำเกิดและเกาะได้เร็ว ซึ่งตะใคร่น้ำนั้นจะเป็นอาหารที่ดีของปลาและสามารถดูดสิ่งสกปรหและแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำได้อีกด้วย และบ่อนี้ควรจะตั้งอยู่ในที่มีร่มเงาต้นไม้ใหญ่ได้ร่มรื่นพอควร อย่าให้อยู่กลางแจ้งเพราะจะทำให้ปลามีสัสันที่จืดจางลง และยังโตช้าลงไปอีกด้วย

น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาคาร์ฟ ->

ควรเป็นน้ำประปาจะดีกว่าน้ำชนิดอื่น เพราะน้ำประปามีสภาพเป็นกลาง ถ้าใช้น้ำฝนจะทำลายสีของปลาและปลาอาจเกิดโรคได้ง่าย ส่วนน้ำจากแม่น้ำลำคลองก็ไม่เหมาะ เพราะอาจมีเชื้อโรคติดมาเป็นอันตรายกับปลาได้ หากไม่มีน้ำประปาต้องใส่ยาฆ่าเชื้อและเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำจากกรดให้เป็นกลางเสียก่อน แล้วค่อยนำมาเลี้ยงปลาได้    ทางที่ดีต้องติดตั้งระบบหมุนเวียนของน้ำ และเครื่องพ่นน้ำ เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำในบ่อถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา และมีออกซิเจนเพียงพอกับปลาด้วย

การนำปลาคาร์ฟมาเลี้ยง ->

เมื่อเตรียมบ่อและน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การจะหาปลาคาร์ฟมาเลี้ยง ควรหาลูกปลาที่มีอายุ 1-2 ปี มาเลี้ยง ไม่ควรจะนำปลาขนาดใหญ่มาเลี้ยง และปลาชนิดอื่นหากไม่จำเป็นไม่ควรนำมาเลี้ยงรวมกับปลาคาร์ฟ เพราะอาจนำเชื้อโรคมาให้ปลาคาร์ฟได้

อาหารที่ปลาคาร์ฟชอบ ->

คือ เนื้อปลาป่น กุ้งสดบด เนื้อหอย เนื้อปู ปลาหมึก ข้าวสาลี รำ ผักกาด ข้าวโพด แมลง สาหร่าย ตะใคร่น้ำ แหน ลูกน้ำ หนอนแดง ถั่วเหลือง ขนมปัง และอาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด

หลักการให้อาหารปลาคาร์ฟ ->

ควรให้ไม่เกินวันละ 2 เวลา คือเช้ากับเย็น ข้อควรจำในการให้อาหารคือ ต้องให้ตามเวลา เพื่อปลาจะเกิดความเคยชินและเชื่องกับผู้ที่เลี้ยง และอาหารที่ให้ต้องกะให้พอกับจำนวนปลา อย่าให้น้อยหรือมากเกินไป ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตว่า ปลากินอาหารอย่างไร? ถ้าอาหารหมดเร็ว แสดงว่าปลายังต้องการอาหารเพิ่ม ก็เพิ่มลงไปอีเล็กน้อย แต่ถ้าอาหารยังลอบน้ำอยู่ ก็รีบตักออกเพราะว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้น้ำเสียเร็ว

การเปลี่ยนน้ำ ->

เมื่อสังเกตเห็นน้ำในบ่อเริ่มขุ่นและมีสิ่งสกปรกมาก ต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที และขณะที่ถ่ายน้ำ ออก 1 ใน 3 ส่วนของบ่อจะต้องเพิ่มน้ำใหม่แทนในปริมาณเท่าเดิมโดยใช้น้ำประปาที่เก็บไว้ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่คอรีนระเหยแล้ว อย่าใช้น้ำประปาที่รองจากก๊อกใหม่ๆ หรือน้ำประปาที่เก็บไว้นานเพราะจะเกิดอันตรายต่อปลาได้

การรักษาระดับอุณหภูมิน้ำในบ่อ ->

ควรรักษาระดับอุหภูมิของน้ำในบ่อ ให้อยู่ในระดับ 20-25 องศาเซ็นติเกรด หากร้อนจัดหรือเย็นจัด จะทำให้ปลาเติบตอย่างเชื่องช้า

การเพาะพันธุ์ปลาคาร์ฟ ->

การเพาะพันธุ์ปลาคาร์ฟ ต้องเริ่มจากการคัดเลือกพันธุ์พ่อ พันธุ์แม่ที่ดีก่อน ทั้งนี้ เพื่อจะได้ลูกปลาที่ดีและแข็งแรง

หลักการพิจารณาคัดเลือกพันธุ์ ->

การเลือกพันธุ์ พ่อ-แม่ ของปลาคาร์ฟนั้น ควรพิจารณาที่สีสันสวยสดใส รูปร่างขนาดเดียวกัน อายุของปลาต้องอยู่ระหว่าง3 ปี ถึง 10 ปี ตัวปลาขนาด 40-50 เซนติเมตร

การดูเพศปลาคาร์ฟ ->

การดูเพศของปลาคาร์ฟว่าตัวไหนตัวผู้ ตัวไหนตัวเมียนั้น มีข้อควรสังเกตดังนี้

1.รูปร่างตัวเมียมีขนาดใหญ่และสวยกว่า ตัวผู้รูปร่างสั้น

2.ส่วนหัวของตัวเมียได้ส่วนสัดกับลำตัว ส่วนตัวผู้หัวใหญ่ ตัวสั้น

3.ท้องตัวเมียดูอ้วนและจับดูนิ่ม ตัวผู้ท้องแห้งไม่นิ่ม

4.ครีบหางตัวเมียไม่แข็ง ตัวผู้แข็งแรงกว่า

5.ช่องทวารตัวเมียยาวตามขวาง นูนขึ้น ตัวผู้ยาวตามลำตัว แฟบและแบน เมื่อกดตรงช่องทวารตัวเมียจะมีขี้ออกมาอย่างเดียว ส่วนตัวผู้จะมีน้ำขุ่นๆ ไหลออกมา โดยเฉพาระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะมีเม็ดเล็กๆ เป็นจุดขาวๆเรียงขึ้นตั้งแต่ครีบ แก้มจนถึงช่องท้อง

เมื่อคัดเลือกพันธุ์ได้แล้ว

เอาสาหร่ายเทียมที่ทำด้วยไนล่อนวางไว้ลงในอ่าง สำหรับเป็นที่วางไข่ให้ตัวเมียวางไข่ในเวลากลางวัน โดยตัวผู้จะไล่ให้ตัวเมียวางไข่จนหมด แล้วตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อผสม

…..ตอนเช้า หลังจากวางไข่และผสมน้ำเชื้อแล้ว จับปลาตัวผู้และตัวเมียออก ให้ไข่เริ่มฟักตัว ภายใน 3 วัน ไข่จะเริ่มฟัก และประมาณ 15 วันต่อมา จะเป็นตัวอ่อน

…..ช่วงเวลาที่เป็นตัวอ่อนนี้ ควรให้แพลงค์ตัน ลูกไรแดง หรือไข่แดงสุก กรองผ้าให้ตัวอ่อนกิน แต่ระวังอย่าให้กินมากและอย่าให้น้ำเสีย จากนั้นประมาณ 3 เดือน ลูกปลาจะเริ่มแสดงสีสันแสดงให้รู้ว่าเป็นปลาคาร์ฟชนิดไหน