Posts Tagged ‘Taisho Sanshoku’

ไทโชซันโชกุ ( Taisho Sanshoku ) เทพบุตรจุดดำ

ไทโชซันโชกุ  ( Taisho  Sanshoku )  เทพบุตรจุดดำ
จดๆ จ้องๆ อยู่นานสองนานครับ   กว่าจะตัดสินใจได้ว่าปลาคาร์พสายพันธุ์ที่สอง  ที่จะนำมาเสนอต่อจากโคฮากุ   น่าจะเป็นสายพันธุ์อะไรดี ระหว่าง  ไทโชซันโชกุ กับ โชวาซัน
โชกุ  แหม..มีตัวเลือกอย่างนี้เลือกยากซะด้วยสิ   แบบว่าชอบทั้งคู่  เข้าตำรารักพี่เสียดายน้องประมาณว่า..จะเด็ดดอกบานดอกตูมก็พลันแกว่งไกว  จะเด็ดดอกไหนกันหนอบัวตูมบัวบาน..
เพลงเก่าเขาเล่าขานไว้อย่างนั้นเอาล่ะ..จับยามสามตาผมเลือกเอา ไทโชซันโชกุ ดีกว่า  มันแวบเข้ามาในหัวนิดนึง  คือ นึกขึ้นมาได้ว่า   เมื่อเทียบเคียงกันแบบตัวต่อตัว หมัดต่อหมัด ปอนด์ต่อปอนด์  ไทโชซันโชกุ น่าจะมีมุมมองความละม้ายคล้ายคลึง   กับโคฮากุที่แนะนำไปก่อนหน้านี้แล้วมากกว่า   มันจะ ได้ต่อเนื่องกัน    และหลายสิ่งหลายอย่างที่เกี่ยวกับโคฮากุ  มันนำมาเป็นบรรทัดฐานใช้ได้กับ ไทโชซันโชกุ ได้อย่างดีทีเดียวเชียวล่ะ  ขอบอก..มีนิทานปรำปราของญี่ปุ่น   ได้เล่าขานถึงที่มาของเจ้าคาร์พนี้ว่า   อันแท้ที่จริงแล้วไท
โชซันโชกุ  นั้นก็คือโคฮากุ  ที่ถูกพระเจ้าสาปให้มีสีกระดำกระด่าง  ประหนึ่งคนเป็นขี้ทูด กุดถัง สังคัง ชันนะตุ  ไม่รู้ว่าดันทะลึ่งไปทำอะไรให้พระเจ้าโกรธ   อันนี้ผมก็ไม่กล้าล้วงลึกเดี๋ยว
พระเจ้าท่านจะหาว่า ส.ใส่เกือก  เกิดทรงพระกริ้วขึ้นมา  จะซวยโดยไม่จำเป็น   นั่นเป็นเพียงนิทานเล่าขานให้เด็กฟัง   คนแก่อย่างผมได้ฟังก็เลยเอามาก็มาฝอยต่อ   แต่อย่างไรก็ดี  ถึงมัน
จะถูกพระเจ้าสาบให้มีจุดสีดำด่าง   ตามนิทานเรื่องเล่าปรำปราแหม่งๆ นั่นจริง   แต่สำหรับคอปลาคาร์พอย่างผมแล้ว   มันเป็นอะไรที่สวยมาก..จ๊าบมาก  ขอบคุณพระเจ้าที่ประทานปลาสวยงามมาให้พวกเราได้ชื่นชม   โอ..มายก็อด
– มาทำความรู้จักกับชื่อของปลาคาร์พ   สายพันธุ์นี้กันหน่อยดีกว่า  ว่ามันมีความหมายว่ากระไร?
เกือบทั้งหมดทั้งสิ้นของชื่อเรียกสายพันธุ์ปลาคาร์พ   มักจะบ่งบอกถึงลักษณะของปลานั้นๆ ถ้าใครรู้ภาษาญี่ปุ่น   เพียงแต่ได้ยินชื่อเรียก   น่าจะจินตนาการออกแล้วว่า   ปลาที่เอ่ยชื่อ
มานั้นจะมีลักษณะลวดลายเช่นไร  ยุ่นปี่เจ้าตำหรับเค้าก็ตั้งชื่อ  เรียกชื่อมันตามที่เห็นนั่นแหละยกตัวอย่างโคฮากุนั่นปะไร   แปลตรงตัวเด๊ะว่าปลาขาวแดง ตามสีสันที่ปรากฏให้เห็นที่ลำตัว
นักเลี้ยงปลาหน้าใหม่บ้านเรา   กับครั้งแรกที่เห็น   ยังเรียกแบบง่ายๆ ฟังแล้วเข้าใจชัดแจ้งไม่ต้องตีความให้เยิ่นเย้อเลยว่า “ไอ้ขาวแดง” เรียกเพี้ยนไปอีกหน่อยก็จะกลายเป็น “ไอ้มดแดง”
ฉะนั้นถ้าเลี้ยงดูมันไม่ดี  อาจถูกมันกระโดดถีบสกายคิกเอาง่ายๆ โปรดระวังส่วน “ไทโชซันโชกุ”  เมื่อแยกแยะคำออกมาเป็นสองส่วนแล้ว  ก็จะได้ความหมายดังนี้คำว่า “ไทโช” เป็นชื่อยุคการปกครองยุคหนึ่งของญี่ปุ่น  เหมือนสยามประเทศของเรา  มีการปกครองยุคสุโขทัย   ยุคกรุงศรี   อะไรทำนองเนี้ย  ส่วน “ซันโชกุ” นั้นหมายความว่า  สามสีรวมความแล้ว “ไทโช+ซันโชกุ”  ก็คือปลาคาร์พสามสี   ที่ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่ยุค “ไทโช” เพราะว่าโดยแท้ที่จริงแล้วไซร้  “ไทโชซันโชกุ” ที่มีสีสัน 3 สี   อันประกอบไปด้วยสีขาว  ดำ แดง  ได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์จากเดิมที่ดูธรรมดามากๆ จนกลายเป็นปลาคาร์พยอดนิยม  เคียงคู่ สูสี  เบียดเสียดชนิดหายใจรดแก้มก้น เอ๊ย..ต้นคอ กับโคฮากุ  ในยุค “ไทโช” นี่แหละโยม…
– ข้อสำคัญควรรู้  บ้านเราไม่นิยมเรียกปลาคาร์พสายพันธุ์นี้ว่า”ไทโชซันโชกุ” นะครับ มันยาวยืดยาด  พูดติดๆ ขัดๆ ไม่ถูกลิ้นคนไทย   ก็เลยเรียกมันซะสั้นๆ ว่า “ซันเก้” ซึ่งสันนิษ
ฐานว่า  น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า “ซังเขะ” ซึ่งเป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของ “ไทโชซันโชกุ” มีความหมายว่าสามสีเหมือนกัน   ครั้นจะเรียก “ซังเขะ” ตามสำเนียงญี่ปุ่นรึ  ก็ยังขัดๆ เขินๆ ปากอยู่
ล่อ “ซันเก้” นี่แหละแน่นอน   สะดวกปากที่สุดและต่อจากนี้ไป   ผมซึ่งเป็นคนไทยสายเลือดกระเหรี่ยงคนหนึ่ง   ที่นิยมความสะดวกปากในการพูด  ก็จะขอเรียก “ไทโชซันโชกุ” หรือ “ซังเขะ” นี้ว่า “ซันเก้” ไปตลอดงานเขียนของผมครับ   และก็อยากเชิญชวนนักเลี้ยงหน้าใหม่  เรียกเจ้าคาร์พสายพันธุ์นี้ว่า “ซันเก้” ตามผมด้วย  เพราะว่ามันจะสะดวกเวลาที่คุณเข้าไปซื้อปลาตามฟาร์มในบ้านเรา   เผลอไปเรียกชื่อ”ไทโชซันโชกุ”  ซะเต็มยศ  พนักงานในฟาร์มเค้าจะ  เอ๋อ..รับประทานครับท่าน
– แล้วไอ้ปลาสามสี ขาว ดำ แดง ที่มีชื่อเรียกว่า ซันเก้ นี่มันมีรูปแบบพื้นฐานยังไงกันนะ? สมมุตินะสมมุติ…สมมุติว่าคุณเป็นคนนึงที่ยังไม่ได้เลี้ยงปลาคาร์พ   หรือยังอยู่ในช่วง
เก็บเกี่ยวข้อมูล   และบังเอิญได้มาติดตามการโม้  เอ๊ย..งานเขียนของผม  คุณก็คงจะรู้จักเพียงแค่ โคฮากุ ราชันย์ขาวแดง  ที่ผมแนะนำไปก่อนหน้านี้  หน้าตาของเจ้า ซันเก้ เป็นยังไง คงยัง
นึกไม่ออก  เอาอย่างนี้  เอาแบบง่ายๆ เลย  นึกภาพตามที่ผมบอกนะแล้วจะร้อง อ๋อ.. เหรอ  จับเจ้าโคฮากุมาตัวนึง   แล้วก็เอาภู่กันจุ่มหมึกดำตราอูฐ ( โฆษณาให้ซะเลย )  จุ่มแล้วก็สลัด ชิ้วๆลงบนตัวโคฮากุ  นั่นแหละน้องเอย.. ตั้งแต่นั้นมา   ตรงนั้นแหละหนาเค้าเรียกว่าท่าเตียน   เคยฟังกันปล่าวเนี่ยอ่ะ..เผลอนอกเรื่องอีกและ  ที่จริงผมจะบอกว่านั่นแหละราชันย์ขาวแดง “โคฮากุ”  ก็จะกลายเป็นเจ้าเทพบุตรจุดดำ “ซันเก้”  ไปในบันดลประมาณว่ามีไอ้หนุ่มคนนึงเดินมาดุ่ยๆ แล้วยกมือขึ้นถูกัน   โอ…พระเจ้า  ทันใดนั้นเขาก็กลายร่างเป็นไอ้มดแดงไรเดอร์ไปในบันดล   วุ๊ยส์นอกเรื่องอีกจนได้   มาเข้าเรื่องต่อ  คงพอนึกภาพออกแล้วใช่ไหมครับว่าโคฮากุ เมื่อถูกหมึกดำสลัดใส่  จนกลายเป็นซันเก้จะมีหน้าตายังไง  ถ้านึกไม่ออกก็ดูรูปเลยดีกว่า  รูปประกอบทั้งหมดเป็น  ซันเก้ ทั้งนั้นแหละครับ  ที่จริงแล้วผมไม่น่ามาเสียเวลาอธิบาย  ให้ดูรูปเอาเองก็สิ้นเรื่องสรุปแล้วรูปแบบพื้นฐานของซันเก้  ก็คือโคฮากุที่มีจุดหรือแต้มสีดำเป็นองค์ประกอบขึ้นมาอีกหนึ่งสี  จุดสีดำของซันเก้ มีชื่อเรียกสั้นๆ จำง่าย สองพยางค์ ว่า “ซูมิ” พูดอีกนัยหนึ่งมันก็คือปลาคาร์พ  ที่ประกอบไปด้วย ” ชิโรจิ”  คือพื้นสีขาว  “ฮิ”  คือลวดลายสีแดง  “ซูมิ”  คือจุดหรือแต้มสีดำ
– ศึกษาประวัติความเป็นมาของมันสักนิด   โดยแท้ที่จริงปลาคาร์พสายพันธุ์นี้มีมานานแล้ว   ก่อนยุคไทโชด้วยซ้ำ…ถ้าดูเอาจากชื่อเต็มยศของมัน  ที่มีคำว่า “ไทโช” นำหน้าร้อยทั้งร้อยก็ต้องเข้าใจเหมือนกันหมดว่า   ต้องเป็นปลาคาร์พที่ถือกำเนิดเกิดกายอุแว้ๆ ในยุคไทโช ( ค.ศ.1912-1926 ) แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างที่คิดครับ   ในบันทึกเกี่ยวกับปลาคาร์พได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนไม่ต้องเสียเวลามาตีความให้เมื่อยตุ้มว่า   ปลาสามสีได้ถูกค้นพบมานานแล้วก่อนยุคไทโชอย่างแน่นอน   เพราะว่าในยุคเมจิ ( ค.ศ.1868-1912 ) ได้มีการกล่าวขานถึงปลาคาร์พที่มีจุดสีดำที่ลำตัวกันบ้างแล้ว  ปลาสามสีในยุคเมจิถูกพบแถบๆเมือง ฟูกูโระ ใกล้กับเมืองนิกาตะ  ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของการกำเนิดปลาคาร์พในยุคก่อน
นอกจากนั้นยังมีบางบันทึก   ได้กล่าวลึกลงไปอีกว่า   การกำเนิดของปลาสามสีมีมาเนิ่นเนิ่นนาน   ใกล้เคียงกับการกำเนิดของโคฮากุ ในยุคปี 1800 ปลาสามสีในยุคนั้นเกิดจากการผ่าเหล่า ( Mutant ) เองโดยธรรมชาติเช่นเดียวกันกับโคฮากุ   เพียงแต่ว่ารูปแบบของปลาสามสีที่ถือกำเนิดจากการผ่าเหล่าโดยธรรมชาติ   ปราศจากการแต่งแต้มของมนุษย์นั้น   เป็นอะไรที่ไม่ค่อยเวิร์ก  สะเปะสะปะดูไม่ได้  ไม่เข้าตากรรมการ  ไม่ถูกใจโก๋  วัยรุ่นเค้าว่า ไม่โดน.. เพ่..อย่างนี้ไม่โดน   ด้วยที่รูปแบบของซันเก้ในยุคแรกกำเนิด  มันไม่งดงามป๊อดเหมือนอย่างในยุคปัจจุบัน   ที่เราเห็นกันทุกวันนี้  นักเลี้ยงปลาคาร์พในยุคนั้นจึงหมางเมิน  ไม่มีใครให้ความสนใจกับมันนัก
– การกำเนิดแท้จริงของ ซันเก้ ยุคใหม่ พัดทะนา..แล้ว   ถือกำเนิดขึ้นในยุค ” ไทโช” มาว่ากันที่ปี ค.ศ.1914  ซึ่งอยู่ในยุคไทโช  ที่จังหวัดนิกาตะ ตำบลอูราการะ  หมู่บ้าน มุยไกชิ   และขอเอื้อนเอ่ยนามนายเฮอิทาโร่  ซาโตะ  เขาผู้นี้เป็นนักเพาะปลากระเดื่องนามคนหนึ่งในนิกาตะ   ปลาที่นายเฮอิทาโร่เพาะก็คือโคฮากุ  ปลาคาร์พสายพันธุ์ดังในยุคนั้น   ครั้งหนึ่งนายเฮอิทาโร่ได้ทำการเพาะพันธุ์   โดยใช้แม่พันธุ์โคฮากุ 1 ตัว กับพ่อพันธุ์โคฮากุ 2 ตัวสูตรนี้นักเพาะปลาคาร์พ  เรียกว่าสูตร 2 รุม 1 ฟังดูก็ปกติไม่น่ามีปัญหาอะไร   แต่เรื่องของเรื่องก็คือว่า  หนึ่งในพ่อพันธุ์โคฮากุนั้นเป็นปลาที่มีจุดสีดำ   สองจุดที่ตำแหน่งใกล้ชายโครงกับใกล้ครีบอก   และผลของการตะลุมบอนแบบ 2 รุม 1โดยมีโคฮากุที่มีจุดสีดำ  ตัวดังกล่าว ร่วมสังฆกรรมด้วยนั้น  ผลที่ออกมาก็คือ  แอ่น..แอน..แอ๊น.. สาวเจ้าท้องป่องและได้ให้กำเนิดลูกน้อยออกมาโขลงใหญ่  เอ๊ะ..ไม่ใช่  โขลงนี่ใช้กับช้าง  ต้องฝูงใหญ่ถึงจะถูก  เรื่องของเรื่อง
ไม่จบเพียงแค่นั้น    เพราะปรากฏว่าลูกปลาในชุดนั้น   มีอยู่จำนวนหนึ่งที่มีจุดสีดำขึ้นที่ลำตัวถอดแบบเอามาจากพ่อบังเกิดเกล้าเป๊ะเลยล่ะค่ะ  ท่านผู้อ่านเจ้าขา..แต่ชะรอยเหมือนบุญมีแต่กรรมมาบัง   ตามคำโบราณกล่าวไว้เปี๊ยบ  ชั่วโมงนั้นนายเฮอิทาโร่  ถูกขี้ตาแฉะแหมะปิดแววตาซะหมด  พี่แกไม่ได้ให้ความสนใจอะไรเลย  นึกฉุนเฉียวซะอีกที่ลูกปลาดันมีสีดำติดมาด้วย  มองดูแล้วสกปรกพิกล   เคราะห์กรรมกระหน่ำถาโถมเจ้าลูกปลาจุดดำนี้อีกระลอก   คราวนี้ละรอกใหญ่ซะด้วย   เพื่อนของนายเฮอิทาโร่  ที่เป็นนักเพาะปลาด้วยกันมาพบเข้าดันปากบอน  ปากอยู่ไม่สุข  ปาก…อะไรดีหว่า  พี่แกเล่นให้คำแนะนำสุดจ๊าบว่า   อย่านำเอาปลาเหล่านี้ไปขายรวมกับโคฮากุเชียวนา  จะทำให้ขายโคฮากุไม่ออก   ดีไม่ดีจะพลอยทำให้ชื่อเสียงป่นปี้บรรลัยไปด้วย   และหยอดท้ายด้วยมุขเด็ด ชนิดที่เจ้าลูกปลาได้ยินแล้วเยี่ยวกะปริบเสียวสันหลังวาบ   พี่แกเล่นแนะว่า   เพื่อไม่ให้เป็นการเสียปล่าว   อย่ากระเลยเอาปลาจุดดำพวกนี้    ไปต้มซีอิ๊วขาวตราเด็กสมบูรณ์กินแกล้มเหล้าสาเกเถอะนะ  ( แกล้มเหล้าสาเก   นี่ผมพูดเองครับ)  โอ…มายก็อด   ช่างเป็นคำแนะนำที่ประเสริฐศรีจริงๆ  นายเฮอิทาโร่   ก็บ้าจี้ตามซะด้วยนะ  ล่อไปต้มซีอิ๊วซะแทบเรียบวุธเหลือไว้ให้ดูต่างหน้าเพียง 3 ตัว เขียนถึงตรงนี้ในฐานะที่ผมเป็นคนรักปลาคาร์พคนนึง    ต้องขอประณามเพื่อนนายเฮคนนี้ซักหน่อย  ที่ดันแนะนำให้เอาปลาไปต้มซีอิ้ว   ใช้ไม่ได้จริงๆ แนะนำอย่างนี้ได้ไง  ไม่ถูกไม่ควร  นี่ถ้าตอนนั้นผมอยู่ใกล้ๆ คุณเฮ  ผมจะแอบกระซิบว่า ” นี่..คุณเฮ  ผมว่าอย่าเอาไปต้ม ซีอิ้วเลยมันเลี่ยน  เชื่อผมเถอะ  ขอดเกล็ด  ผ่าท้อง  ควักไส้ล้างน้ำให้สะอาด บั้งลำตัวซะหน่อย แล้วหย่อนลงไปในกระทะน้ำมันเดือดๆ  ระหว่างนั้นซอยพริกขี้หนู  หอมแดง  บีบมะนาว น้ำ ปลาเหยาะ   ข้าวสวยร้อนๆ ฮู๊ยส์..อย่าให้เซด   เคล็ดลับคู่ครัว…อย่าเขียมน้ำมันใส่เยอะๆ ปลาจะกรอบได้ที่   เจียวกระเทียมโรยอีกนิด  จะช่วยเพิ่มรสชาดได้อีกเยอะ  แฮ่ะๆ
– จากลูกปลาที่เหลือเพียง 3 ตัว ต่อมาได้ให้กำเนิด ซันเก้  ยุคใหม่ตามมาอีกมากมาย… มาว่าถึงลูกปลาที่เล็ดรอดชีวิตอยู่สามตัวนั่นต่อ   ลูกปลาสามตัวที่เหลือนี่ไม่ใช่นายเฮแก
เกิดใจบุญขึ้นกระทันหันนะ  อย่า..อย่าเข้าใจผิด  จริงแล้วนายเฮกะจะสะด๊วบให้หมดเรียบนั่นแหละ   แต่ชะรอยชะตาเจ้าสามตัวนี้ยังไม่ถึงฆาต   ลูกชายนายเฮได้มาเจอ   และมองเห็นแวว
ความงามของพวกมันเข้าซะก่อน  จึงนำไปใส่กระชังเลี้ยงไว้   เหมือนว่าบุพเพสันนิวาสมีจริงนายชูโซ  คาวากามิ  แห่งฟาร์มโทราโซ  ได้มาพบเข้าเกิดปิ๊งรักแรกพบ  ขอซื้อต่อไปเป็นภรร
ยา  อุ๊ย..ไม่ใช่  เอาไปเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์  ซื้อเจ้า 3 สี 3 ตัวนี้ไปในราคา 3 เซน ตองสามครับงวดนี้หลังจากขายเจ้าสามตัวนั่นไปแล้ว   นายเฮของเราเริ่มคิดได้   ว่าน่าจะพัฒนาสายพันธุ์
ปลาที่มีสามสีนี้ขึ้นมา   เผื่อฟลุคเกิดฮิตติดลมบน  เป็นที่ต้องการของนักนักเลี้ยงขึ้นมา  งานนี้เป็นได้รวยเละเทะ   ว่าแล้วก็อย่ากระนั้นเลยจัดแจงนำพ่อแม่พันธุ์ชุดเก่า   ที่ให้กำเนิดปลาสาม
สีชุดนั้นมาเพาะพันธุ์อีกครั้ง  ปรากฏว่าคราวนี้ได้ลูกปลา 3 สี ออกมาจิ๊บจ๊อยกระปริบกระปอยเหมือนไม่ตั้งใจมาเกิด ( คือมันกลัวโดนต้มซีอิ๊วน่ะ ผมว่า) ลูกปลาสามสีที่ได้มานั้นมีเพียง 10
ตัวเท่านั้นเองเมื่อผลออกมาผิดคาดไม่ประทับใจจ๊อดเช่นนี้   นายเฮของเราเปลี่ยนแผนรบใหม่  ขายส่งไปเลย  เพื่อให้คนอื่นเอาไปพัฒนามั่งดีกว่า   ฟาร์มที่มารับช่วงต่อไปคือฟาร์มโชเบอิ แห่งเมือง ยามานากะ  รับช่วงต่อมาในปี 1916  เมื่อฟาร์มโชเบอิ  ได้พ่อแม่พันธุ์ชุดนี้ไปแล้วก็ทำการเพาะพันธุ์   ผลเหมือนเดิมมีลูกปลาสามสีติดมาด้วย   การเปลี่ยนมือยังไม่สิ้นสุดในบันทึก
กล่าวไว้ว่า   การเดินทางครั้งสุดและเป็นครั้งสำคัญ   คือการที่พ่อแม่พันธุ์ชุดนี้ได้ตกไปถึงมือนายเอซาบูโร่  โฮชิโน แห่งทาเกซาว่า ในปี 1917 แสดงว่าอยู่กับฟาร์มโชเบอิ แค่ปีเดียว นาย
เอซาบูโร่  ซื้อปลาชุดนี้ไปในราคา 45 เยน   และได้ผลิตลูกปลาซันเก้ที่มีรูปแบบสวยงาม  ออกมามากมาย   พร้อมกับพัฒนาคุณภาพสายพันธุ์ของซันเก้ให้ดีขึ้นตามลำดับ   เหล่าบรรดานัก
เลี้ยงต่างพากันยกย่องว่านายเอซาบูโร่  ผู้นี้แหละคือผู้ให้กำเนิดปลาซันเก้ยุคใหม่อย่างแท้จริงคงจบจบประวัติความเป็นมาของซันเก้  ไว้เพียงเท่านี้ก่อน   คราวหน้าผมจะพาไปทำ
ความรู้จักกับ Bloodline สำคัญๆ ของมันครับ

ไทโชซันโชกุ  ( Taisho  Sanshoku )  เทพบุตรจุดดำจดๆ จ้องๆ อยู่นานสองนานครับ   กว่าจะตัดสินใจได้ว่าปลาคาร์พสายพันธุ์ที่สอง  ที่จะนำมาเสนอต่อจากโคฮากุ   น่าจะเป็นสายพันธุ์อะไรดี ระหว่าง  ไทโชซันโชกุ กับ โชวาซันโชกุ  แหม..มีตัวเลือกอย่างนี้เลือกยากซะด้วยสิ   แบบว่าชอบทั้งคู่  เข้าตำรารักพี่เสียดายน้องประมาณว่า..จะเด็ดดอกบานดอกตูมก็พลันแกว่งไกว  จะเด็ดดอกไหนกันหนอบัวตูมบัวบาน..เพลงเก่าเขาเล่าขานไว้อย่างนั้นเอาล่ะ..จับยามสามตาผมเลือกเอา ไทโชซันโชกุ ดีกว่า  มันแวบเข้ามาในหัวนิดนึง  คือ นึกขึ้นมาได้ว่า   เมื่อเทียบเคียงกันแบบตัวต่อตัว หมัดต่อหมัด ปอนด์ต่อปอนด์  ไทโชซันโชกุ น่าจะมีมุมมองความละม้ายคล้ายคลึง   กับโคฮากุที่แนะนำไปก่อนหน้านี้แล้วมากกว่า   มันจะ ได้ต่อเนื่องกัน    และหลายสิ่งหลายอย่างที่เกี่ยวกับโคฮากุ  มันนำมาเป็นบรรทัดฐานใช้ได้กับ ไทโชซันโชกุ ได้อย่างดีทีเดียวเชียวล่ะ  ขอบอก..มีนิทานปรำปราของญี่ปุ่น   ได้เล่าขานถึงที่มาของเจ้าคาร์พนี้ว่า   อันแท้ที่จริงแล้วไทโชซันโชกุ  นั้นก็คือโคฮากุ  ที่ถูกพระเจ้าสาปให้มีสีกระดำกระด่าง  ประหนึ่งคนเป็นขี้ทูด กุดถัง สังคัง ชันนะตุ  ไม่รู้ว่าดันทะลึ่งไปทำอะไรให้พระเจ้าโกรธ   อันนี้ผมก็ไม่กล้าล้วงลึกเดี๋ยวพระเจ้าท่านจะหาว่า ส.ใส่เกือก  เกิดทรงพระกริ้วขึ้นมา  จะซวยโดยไม่จำเป็น   นั่นเป็นเพียงนิทานเล่าขานให้เด็กฟัง   คนแก่อย่างผมได้ฟังก็เลยเอามาก็มาฝอยต่อ   แต่อย่างไรก็ดี  ถึงมันจะถูกพระเจ้าสาบให้มีจุดสีดำด่าง   ตามนิทานเรื่องเล่าปรำปราแหม่งๆ นั่นจริง   แต่สำหรับคอปลาคาร์พอย่างผมแล้ว   มันเป็นอะไรที่สวยมาก..จ๊าบมาก  ขอบคุณพระเจ้าที่ประทานปลาสวยงามมาให้พวกเราได้ชื่นชม   โอ..มายก็อด

– มาทำความรู้จักกับชื่อของปลาคาร์พ   สายพันธุ์นี้กันหน่อยดีกว่า  ว่ามันมีความหมายว่ากระไร?เกือบทั้งหมดทั้งสิ้นของชื่อเรียกสายพันธุ์ปลาคาร์พ   มักจะบ่งบอกถึงลักษณะของปลานั้นๆ ถ้าใครรู้ภาษาญี่ปุ่น   เพียงแต่ได้ยินชื่อเรียก   น่าจะจินตนาการออกแล้วว่า   ปลาที่เอ่ยชื่อมานั้นจะมีลักษณะลวดลายเช่นไร  ยุ่นปี่เจ้าตำหรับเค้าก็ตั้งชื่อ  เรียกชื่อมันตามที่เห็นนั่นแหละยกตัวอย่างโคฮากุนั่นปะไร   แปลตรงตัวเด๊ะว่าปลาขาวแดง ตามสีสันที่ปรากฏให้เห็นที่ลำตัวนักเลี้ยงปลาหน้าใหม่บ้านเรา   กับครั้งแรกที่เห็น   ยังเรียกแบบง่ายๆ ฟังแล้วเข้าใจชัดแจ้งไม่ต้องตีความให้เยิ่นเย้อเลยว่า “ไอ้ขาวแดง” เรียกเพี้ยนไปอีกหน่อยก็จะกลายเป็น “ไอ้มดแดง”ฉะนั้นถ้าเลี้ยงดูมันไม่ดี  อาจถูกมันกระโดดถีบสกายคิกเอาง่ายๆ โปรดระวังส่วน “ไทโชซันโชกุ”  เมื่อแยกแยะคำออกมาเป็นสองส่วนแล้ว  ก็จะได้ความหมายดังนี้คำว่า “ไทโช” เป็นชื่อยุคการปกครองยุคหนึ่งของญี่ปุ่น  เหมือนสยามประเทศของเรา  มีการปกครองยุคสุโขทัย   ยุคกรุงศรี   อะไรทำนองเนี้ย  ส่วน “ซันโชกุ” นั้นหมายความว่า  สามสีรวมความแล้ว “ไทโช+ซันโชกุ”  ก็คือปลาคาร์พสามสี   ที่ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่ยุค “ไทโช” เพราะว่าโดยแท้ที่จริงแล้วไซร้  “ไทโชซันโชกุ” ที่มีสีสัน 3 สี   อันประกอบไปด้วยสีขาว  ดำ แดง  ได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์จากเดิมที่ดูธรรมดามากๆ จนกลายเป็นปลาคาร์พยอดนิยม  เคียงคู่ สูสี  เบียดเสียดชนิดหายใจรดแก้มก้น เอ๊ย..ต้นคอ กับโคฮากุ  ในยุค “ไทโช” นี่แหละโยม…
– ข้อสำคัญควรรู้  บ้านเราไม่นิยมเรียกปลาคาร์พสายพันธุ์นี้ว่า”ไทโชซันโชกุ” นะครับ มันยาวยืดยาด  พูดติดๆ ขัดๆ ไม่ถูกลิ้นคนไทย   ก็เลยเรียกมันซะสั้นๆ ว่า “ซันเก้” ซึ่งสันนิษฐานว่า  น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า “ซังเขะ” ซึ่งเป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของ “ไทโชซันโชกุ” มีความหมายว่าสามสีเหมือนกัน   ครั้นจะเรียก “ซังเขะ” ตามสำเนียงญี่ปุ่นรึ  ก็ยังขัดๆ เขินๆ ปากอยู่ล่อ “ซันเก้” นี่แหละแน่นอน   สะดวกปากที่สุดและต่อจากนี้ไป   ผมซึ่งเป็นคนไทยสายเลือดกระเหรี่ยงคนหนึ่ง   ที่นิยมความสะดวกปากในการพูด  ก็จะขอเรียก “ไทโชซันโชกุ” หรือ “ซังเขะ” นี้ว่า “ซันเก้” ไปตลอดงานเขียนของผมครับ   และก็อยากเชิญชวนนักเลี้ยงหน้าใหม่  เรียกเจ้าคาร์พสายพันธุ์นี้ว่า “ซันเก้” ตามผมด้วย  เพราะว่ามันจะสะดวกเวลาที่คุณเข้าไปซื้อปลาตามฟาร์มในบ้านเรา   เผลอไปเรียกชื่อ”ไทโชซันโชกุ”  ซะเต็มยศ  พนักงานในฟาร์มเค้าจะ  เอ๋อ..รับประทานครับท่าน
– แล้วไอ้ปลาสามสี ขาว ดำ แดง ที่มีชื่อเรียกว่า ซันเก้ นี่มันมีรูปแบบพื้นฐานยังไงกันนะ? สมมุตินะสมมุติ…สมมุติว่าคุณเป็นคนนึงที่ยังไม่ได้เลี้ยงปลาคาร์พ   หรือยังอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้อมูล   และบังเอิญได้มาติดตามการโม้  เอ๊ย..งานเขียนของผม  คุณก็คงจะรู้จักเพียงแค่ โคฮากุ ราชันย์ขาวแดง  ที่ผมแนะนำไปก่อนหน้านี้  หน้าตาของเจ้า ซันเก้ เป็นยังไง คงยังนึกไม่ออก  เอาอย่างนี้  เอาแบบง่ายๆ เลย  นึกภาพตามที่ผมบอกนะแล้วจะร้อง อ๋อ.. เหรอ  จับเจ้าโคฮากุมาตัวนึง   แล้วก็เอาภู่กันจุ่มหมึกดำตราอูฐ ( โฆษณาให้ซะเลย )  จุ่มแล้วก็สลัด ชิ้วๆลงบนตัวโคฮากุ  นั่นแหละน้องเอย.. ตั้งแต่นั้นมา   ตรงนั้นแหละหนาเค้าเรียกว่าท่าเตียน   เคยฟังกันปล่าวเนี่ยอ่ะ..เผลอนอกเรื่องอีกและ  ที่จริงผมจะบอกว่านั่นแหละราชันย์ขาวแดง “โคฮากุ”  ก็จะกลายเป็นเจ้าเทพบุตรจุดดำ “ซันเก้”  ไปในบันดลประมาณว่ามีไอ้หนุ่มคนนึงเดินมาดุ่ยๆ แล้วยกมือขึ้นถูกัน   โอ…พระเจ้า  ทันใดนั้นเขาก็กลายร่างเป็นไอ้มดแดงไรเดอร์ไปในบันดล   วุ๊ยส์นอกเรื่องอีกจนได้   มาเข้าเรื่องต่อ  คงพอนึกภาพออกแล้วใช่ไหมครับว่าโคฮากุ เมื่อถูกหมึกดำสลัดใส่  จนกลายเป็นซันเก้จะมีหน้าตายังไง  ถ้านึกไม่ออกก็ดูรูปเลยดีกว่า  รูปประกอบทั้งหมดเป็น  ซันเก้ ทั้งนั้นแหละครับ  ที่จริงแล้วผมไม่น่ามาเสียเวลาอธิบาย  ให้ดูรูปเอาเองก็สิ้นเรื่องสรุปแล้วรูปแบบพื้นฐานของซันเก้  ก็คือโคฮากุที่มีจุดหรือแต้มสีดำเป็นองค์ประกอบขึ้นมาอีกหนึ่งสี  จุดสีดำของซันเก้ มีชื่อเรียกสั้นๆ จำง่าย สองพยางค์ ว่า “ซูมิ” พูดอีกนัยหนึ่งมันก็คือปลาคาร์พ  ที่ประกอบไปด้วย ” ชิโรจิ”  คือพื้นสีขาว  “ฮิ”  คือลวดลายสีแดง  “ซูมิ”  คือจุดหรือแต้มสีดำ
– ศึกษาประวัติความเป็นมาของมันสักนิด   โดยแท้ที่จริงปลาคาร์พสายพันธุ์นี้มีมานานแล้ว   ก่อนยุคไทโชด้วยซ้ำ…ถ้าดูเอาจากชื่อเต็มยศของมัน  ที่มีคำว่า “ไทโช” นำหน้าร้อยทั้งร้อยก็ต้องเข้าใจเหมือนกันหมดว่า   ต้องเป็นปลาคาร์พที่ถือกำเนิดเกิดกายอุแว้ๆ ในยุคไทโช ( ค.ศ.1912-1926 ) แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างที่คิดครับ   ในบันทึกเกี่ยวกับปลาคาร์พได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนไม่ต้องเสียเวลามาตีความให้เมื่อยตุ้มว่า   ปลาสามสีได้ถูกค้นพบมานานแล้วก่อนยุคไทโชอย่างแน่นอน   เพราะว่าในยุคเมจิ ( ค.ศ.1868-1912 ) ได้มีการกล่าวขานถึงปลาคาร์พที่มีจุดสีดำที่ลำตัวกันบ้างแล้ว  ปลาสามสีในยุคเมจิถูกพบแถบๆเมือง ฟูกูโระ ใกล้กับเมืองนิกาตะ  ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของการกำเนิดปลาคาร์พในยุคก่อนนอกจากนั้นยังมีบางบันทึก   ได้กล่าวลึกลงไปอีกว่า   การกำเนิดของปลาสามสีมีมาเนิ่นเนิ่นนาน   ใกล้เคียงกับการกำเนิดของโคฮากุ ในยุคปี 1800 ปลาสามสีในยุคนั้นเกิดจากการผ่าเหล่า ( Mutant ) เองโดยธรรมชาติเช่นเดียวกันกับโคฮากุ   เพียงแต่ว่ารูปแบบของปลาสามสีที่ถือกำเนิดจากการผ่าเหล่าโดยธรรมชาติ   ปราศจากการแต่งแต้มของมนุษย์นั้น   เป็นอะไรที่ไม่ค่อยเวิร์ก  สะเปะสะปะดูไม่ได้  ไม่เข้าตากรรมการ  ไม่ถูกใจโก๋  วัยรุ่นเค้าว่า ไม่โดน.. เพ่..อย่างนี้ไม่โดน   ด้วยที่รูปแบบของซันเก้ในยุคแรกกำเนิด  มันไม่งดงามป๊อดเหมือนอย่างในยุคปัจจุบัน   ที่เราเห็นกันทุกวันนี้  นักเลี้ยงปลาคาร์พในยุคนั้นจึงหมางเมิน  ไม่มีใครให้ความสนใจกับมันนัก
– การกำเนิดแท้จริงของ ซันเก้ ยุคใหม่ พัดทะนา..แล้ว   ถือกำเนิดขึ้นในยุค ” ไทโช” มาว่ากันที่ปี ค.ศ.1914  ซึ่งอยู่ในยุคไทโช  ที่จังหวัดนิกาตะ ตำบลอูราการะ  หมู่บ้าน มุยไกชิ   และขอเอื้อนเอ่ยนามนายเฮอิทาโร่  ซาโตะ  เขาผู้นี้เป็นนักเพาะปลากระเดื่องนามคนหนึ่งในนิกาตะ   ปลาที่นายเฮอิทาโร่เพาะก็คือโคฮากุ  ปลาคาร์พสายพันธุ์ดังในยุคนั้น   ครั้งหนึ่งนายเฮอิทาโร่ได้ทำการเพาะพันธุ์   โดยใช้แม่พันธุ์โคฮากุ 1 ตัว กับพ่อพันธุ์โคฮากุ 2 ตัวสูตรนี้นักเพาะปลาคาร์พ  เรียกว่าสูตร 2 รุม 1 ฟังดูก็ปกติไม่น่ามีปัญหาอะไร   แต่เรื่องของเรื่องก็คือว่า  หนึ่งในพ่อพันธุ์โคฮากุนั้นเป็นปลาที่มีจุดสีดำ   สองจุดที่ตำแหน่งใกล้ชายโครงกับใกล้ครีบอก   และผลของการตะลุมบอนแบบ 2 รุม 1โดยมีโคฮากุที่มีจุดสีดำ  ตัวดังกล่าว ร่วมสังฆกรรมด้วยนั้น  ผลที่ออกมาก็คือ  แอ่น..แอน..แอ๊น.. สาวเจ้าท้องป่องและได้ให้กำเนิดลูกน้อยออกมาโขลงใหญ่  เอ๊ะ..ไม่ใช่  โขลงนี่ใช้กับช้าง  ต้องฝูงใหญ่ถึงจะถูก  เรื่องของเรื่องไม่จบเพียงแค่นั้น    เพราะปรากฏว่าลูกปลาในชุดนั้น   มีอยู่จำนวนหนึ่งที่มีจุดสีดำขึ้นที่ลำตัวถอดแบบเอามาจากพ่อบังเกิดเกล้าเป๊ะเลยล่ะค่ะ  ท่านผู้อ่านเจ้าขา..แต่ชะรอยเหมือนบุญมีแต่กรรมมาบัง   ตามคำโบราณกล่าวไว้เปี๊ยบ  ชั่วโมงนั้นนายเฮอิทาโร่  ถูกขี้ตาแฉะแหมะปิดแววตาซะหมด  พี่แกไม่ได้ให้ความสนใจอะไรเลย  นึกฉุนเฉียวซะอีกที่ลูกปลาดันมีสีดำติดมาด้วย  มองดูแล้วสกปรกพิกล   เคราะห์กรรมกระหน่ำถาโถมเจ้าลูกปลาจุดดำนี้อีกระลอก   คราวนี้ละรอกใหญ่ซะด้วย   เพื่อนของนายเฮอิทาโร่  ที่เป็นนักเพาะปลาด้วยกันมาพบเข้าดันปากบอน  ปากอยู่ไม่สุข  ปาก…อะไรดีหว่า  พี่แกเล่นให้คำแนะนำสุดจ๊าบว่า   อย่านำเอาปลาเหล่านี้ไปขายรวมกับโคฮากุเชียวนา  จะทำให้ขายโคฮากุไม่ออก   ดีไม่ดีจะพลอยทำให้ชื่อเสียงป่นปี้บรรลัยไปด้วย   และหยอดท้ายด้วยมุขเด็ด ชนิดที่เจ้าลูกปลาได้ยินแล้วเยี่ยวกะปริบเสียวสันหลังวาบ   พี่แกเล่นแนะว่า   เพื่อไม่ให้เป็นการเสียปล่าว   อย่ากระเลยเอาปลาจุดดำพวกนี้    ไปต้มซีอิ๊วขาวตราเด็กสมบูรณ์กินแกล้มเหล้าสาเกเถอะนะ  ( แกล้มเหล้าสาเก   นี่ผมพูดเองครับ)  โอ…มายก็อด   ช่างเป็นคำแนะนำที่ประเสริฐศรีจริงๆ  นายเฮอิทาโร่   ก็บ้าจี้ตามซะด้วยนะ  ล่อไปต้มซีอิ๊วซะแทบเรียบวุธเหลือไว้ให้ดูต่างหน้าเพียง 3 ตัว เขียนถึงตรงนี้ในฐานะที่ผมเป็นคนรักปลาคาร์พคนนึง    ต้องขอประณามเพื่อนนายเฮคนนี้ซักหน่อย  ที่ดันแนะนำให้เอาปลาไปต้มซีอิ้ว   ใช้ไม่ได้จริงๆ แนะนำอย่างนี้ได้ไง  ไม่ถูกไม่ควร  นี่ถ้าตอนนั้นผมอยู่ใกล้ๆ คุณเฮ  ผมจะแอบกระซิบว่า ” นี่..คุณเฮ  ผมว่าอย่าเอาไปต้ม ซีอิ้วเลยมันเลี่ยน  เชื่อผมเถอะ  ขอดเกล็ด  ผ่าท้อง  ควักไส้ล้างน้ำให้สะอาด บั้งลำตัวซะหน่อย แล้วหย่อนลงไปในกระทะน้ำมันเดือดๆ  ระหว่างนั้นซอยพริกขี้หนู  หอมแดง  บีบมะนาว น้ำ ปลาเหยาะ   ข้าวสวยร้อนๆ ฮู๊ยส์..อย่าให้เซด   เคล็ดลับคู่ครัว…อย่าเขียมน้ำมันใส่เยอะๆ ปลาจะกรอบได้ที่   เจียวกระเทียมโรยอีกนิด  จะช่วยเพิ่มรสชาดได้อีกเยอะ  แฮ่ะๆ
– จากลูกปลาที่เหลือเพียง 3 ตัว ต่อมาได้ให้กำเนิด ซันเก้  ยุคใหม่ตามมาอีกมากมาย… มาว่าถึงลูกปลาที่เล็ดรอดชีวิตอยู่สามตัวนั่นต่อ   ลูกปลาสามตัวที่เหลือนี่ไม่ใช่นายเฮแกเกิดใจบุญขึ้นกระทันหันนะ  อย่า..อย่าเข้าใจผิด  จริงแล้วนายเฮกะจะสะด๊วบให้หมดเรียบนั่นแหละ   แต่ชะรอยชะตาเจ้าสามตัวนี้ยังไม่ถึงฆาต   ลูกชายนายเฮได้มาเจอ   และมองเห็นแววความงามของพวกมันเข้าซะก่อน  จึงนำไปใส่กระชังเลี้ยงไว้   เหมือนว่าบุพเพสันนิวาสมีจริงนายชูโซ  คาวากามิ  แห่งฟาร์มโทราโซ  ได้มาพบเข้าเกิดปิ๊งรักแรกพบ  ขอซื้อต่อไปเป็นภรรยา  อุ๊ย..ไม่ใช่  เอาไปเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์  ซื้อเจ้า 3 สี 3 ตัวนี้ไปในราคา 3 เซน ตองสามครับงวดนี้หลังจากขายเจ้าสามตัวนั่นไปแล้ว   นายเฮของเราเริ่มคิดได้   ว่าน่าจะพัฒนาสายพันธุ์ปลาที่มีสามสีนี้ขึ้นมา   เผื่อฟลุคเกิดฮิตติดลมบน  เป็นที่ต้องการของนักนักเลี้ยงขึ้นมา  งานนี้เป็นได้รวยเละเทะ   ว่าแล้วก็อย่ากระนั้นเลยจัดแจงนำพ่อแม่พันธุ์ชุดเก่า   ที่ให้กำเนิดปลาสามสีชุดนั้นมาเพาะพันธุ์อีกครั้ง  ปรากฏว่าคราวนี้ได้ลูกปลา 3 สี ออกมาจิ๊บจ๊อยกระปริบกระปอยเหมือนไม่ตั้งใจมาเกิด ( คือมันกลัวโดนต้มซีอิ๊วน่ะ ผมว่า) ลูกปลาสามสีที่ได้มานั้นมีเพียง 10ตัวเท่านั้นเองเมื่อผลออกมาผิดคาดไม่ประทับใจจ๊อดเช่นนี้   นายเฮของเราเปลี่ยนแผนรบใหม่  ขายส่งไปเลย  เพื่อให้คนอื่นเอาไปพัฒนามั่งดีกว่า   ฟาร์มที่มารับช่วงต่อไปคือฟาร์มโชเบอิ แห่งเมือง ยามานากะ  รับช่วงต่อมาในปี 1916  เมื่อฟาร์มโชเบอิ  ได้พ่อแม่พันธุ์ชุดนี้ไปแล้วก็ทำการเพาะพันธุ์   ผลเหมือนเดิมมีลูกปลาสามสีติดมาด้วย   การเปลี่ยนมือยังไม่สิ้นสุดในบันทึกกล่าวไว้ว่า   การเดินทางครั้งสุดและเป็นครั้งสำคัญ   คือการที่พ่อแม่พันธุ์ชุดนี้ได้ตกไปถึงมือนายเอซาบูโร่  โฮชิโน แห่งทาเกซาว่า ในปี 1917 แสดงว่าอยู่กับฟาร์มโชเบอิ แค่ปีเดียว นายเอซาบูโร่  ซื้อปลาชุดนี้ไปในราคา 45 เยน   และได้ผลิตลูกปลาซันเก้ที่มีรูปแบบสวยงาม  ออกมามากมาย   พร้อมกับพัฒนาคุณภาพสายพันธุ์ของซันเก้ให้ดีขึ้นตามลำดับ   เหล่าบรรดานักเลี้ยงต่างพากันยกย่องว่านายเอซาบูโร่  ผู้นี้แหละคือผู้ให้กำเนิดปลาซันเก้ยุคใหม่อย่างแท้จริงคงจบจบประวัติความเป็นมาของซันเก้  ไว้เพียงเท่านี้ก่อน   คราวหน้าผมจะพาไปทำความรู้จักกับ Bloodline สำคัญๆ ของมันครับ